Page 26 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 26

เป็นเหตุผลที่เหมาะสมในการประหารชีวิตจำาเลย  โดยระบุไว้ด้วยว่า  ถึงแม้การลงโทษเพื่อแก้แค้น
                     ทดแทนจะไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่สำาคัญที่สุด  แต่ก็ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามและไม่ขัดต่อ

                     การส่งเสริมความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นคนและเป็นการแสดงออกของสังคม  ซึ่งแสดง

                     ความโกรธแค้นต่อพฤติกรรมเหี้ยมโหดที่ผู้กระทำาผิดได้กระทำาลงไป (สุพจน์ สุโรจน์, ๒๕๕๐)


                                 -  ทฤษฎีผู้กระทำ�ผิดสมควรถูกลงโทษ (Just Desert Theory)

                                   เป็นการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนผู้กระทำาผิด  โดยไม่ได้สนใจต่ออนาคต

                     ของผู้กระทำาผิด  หรือสังคม  คงให้ความสนใจเฉพาะพฤติกรรมหรือการกระทำาในอดีตของ
                     ผู้กระทำาผิดเท่านั้น  โดยเมื่อมีการกระทำาผิดเกิดขึ้น  สังคมมีปฏิกิริยาตอบโต้ผู้กระทำาผิดในเชิง
                     แก้แค้นทดแทนประการหนึ่ง  และเนื่องจากผู้กระทำาผิดสมควรถูกลงโทษอีกประการหนึ่ง  (สุพจน์

                     สุโรจน์,  ๒๕๕๐)  ดังนั้น  จึงจำาเป็นต้องมีการใช้โทษประหารชีวิตในสังคม  เพราะมีความเชื่อมั่นว่า

                     ผู้กระทำาผิดที่มีพฤติกรรมโหดร้ายทารุณสมควรจะได้รับการลงโทษที่มีความรุนแรงเช่นเดียวกัน
                     กับพฤติกรรมที่กระทำาต่อเหยื่อ  เนื่องจากผู้กระทำาผิดเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่มีความโหดร้าย
                     ทารุณ  ผู้กระทำาผิดจึงสมควรได้รับการลงโทษโดยเฉพาะการประหารชีวิต  อันเป็นการสนใจเพียง

                     พฤติกรรมการกระทำาผิดของอาชญากรเท่านั้น  ไม่ได้สนใจสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยที่หล่อหลอม

                     ให้อาชญากรต้องกระทำาผิด  รวมทั้งไม่ได้มีความสนใจต่อผลกระทบของการลงโทษประหารชีวิต
                     ต่อสังคมแต่ประการใด



                             ๒) ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสำ�นักอ�ชญ�วิทย�คล�สสิค (The Classical School of

                     Criminology)
                                 เป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นในยุโรปสมัยศตวรรษที่  ๑๘  โดยแนวคิดของสำานักอาชญาวิทยา
                     คลาสสิคตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยม  (Utilitarianism  Philosophy)  ทฤษฎี

                     สัญญาประชาคม (Social Contract) และทฤษฎีเจตจำานงอิสระ (Free Will) กล่าวคือ

                                 ทฤษฎีเจตจำานงอิสระ (Free Will) เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีอิสระที่จะคิด กระทำาสิ่งต่าง ๆ
                     ด้วยตนเอง โดยมนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผล ดังนั้น เมื่อมนุษย์กระทำาสิ่งใดลงไป โดยการ
                     ตัดสินใจและการใช้เหตุผลของตนเองแล้ว จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำาลงไป ซึ่งหากบุคคลใด

                     ได้กระทำาความผิดย่อมต้องได้รับการลงโทษ  การที่สังคมลงโทษบุคคลนั้นเนื่องจากการกระทำาผิด

                     และเป็นสิ่งที่ผู้กระทำาผิดสมควรจะได้รับ
                                 ในปี ค.ศ. ๑๗๖๔ ซีซาร์ เบ็คคาเรีย (Cesare Beccaria) เขียนบทความเป็นภาษา
                     อิตาเลียน  ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสำาคัญในหนังสือชื่อ  “Dei  delitti  e  delle  pene”  ตรงกับ

                     ความหมายในภาษาอังกฤษว่า  “On  Crimes  and  Punishments”  ซึ่งเป็นข้อเขียน

                     ที่จุดประกายความคิดของนักปราชญ์ในอิตาลีและทั่วภาคพื้นยุโรป  เบ็คคาเรียได้แสดงทัศนะ
                     คัดค้านต่อการลงโทษประหารชีวิตอย่างไม่เป็นธรรม  โดยได้ต่อต้านการลงโทษประหารชีวิต






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 13
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31