Page 24 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 24
๑) ก�รลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน (Retribution)
เป็นการลงโทษที่มีมาตั้งแต่สมัยที่มนุษย์ยังเป็นสังคมดั้งเดิม รูปแบบการลงโทษ
จะมีลักษณะที่รุนแรงและป่าเถื่อน เช่น การตัดอวัยวะ การเฆี่ยนตี ทรมาน และการประหารชีวิต
ซึ่งเป็นการลงโทษที่มีวัตถุประสงค์อันสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เสียหายและประชาชนทั่วไป
ที่ต้องการจะเห็นคนที่ทำาร้ายผู้อื่นได้รับผลร้ายเช่นกัน ทำาให้เกิดความยุติธรรมตามความรู้สึกของ
ผู้เสียหาย
๒) ก�รลงโทษเพื่อข่มขวัญยับยั้ง (Deterrence)
วัตถุประสงค์ของการลงโทษนี้เป็นผลมาจากแนวความคิดของสำานักอาชญาวิทยา
ดั้งเดิม (Classical School) ซึ่งเชื่อว่าการกระทำาผิดเกิดขึ้นจากคนไม่เกรงกลัวกฎหมาย หรือการ
บังคับใช้กฎหมายอ่อนแอ ทั้งนี้ เพราะมนุษย์มีเหตุมีผลและมีเจตจำานงอิสระ (Free Will) ที่จะ
เลือกทำาสิ่งใดก็ได้ โดยเลือกทำาสิ่งที่ตนเองได้รับประโยชน์และพอใจ แต่ไม่เลือกทำาสิ่งที่ทำาให้เกิด
ความทุกข์และความเจ็บปวด การลงโทษจึงมีขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำาผิด โดยทำาให้ผู้กระทำาผิด
รู้สึกว่าผลของการกระทำาผิดก่อให้เกิดความเจ็บปวดและไม่ก่อให้เกิดผลดี แต่การลงโทษที่มีผล
ในการข่มขวัญยับยั้งที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีความแน่นอน รวดเร็ว เสมอภาค และการลงโทษ
ที่เหมาะสม
๓) ก�รลงโทษเพื่อตัดโอก�สกระทำ�ผิด (Incapacitation)
การป้องกันสังคมหรือการตัดโอกาส มีหลักการว่า อาชญากรรมย่อมไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มี
อาชญากรหรืออาชญากรไม่มีโอกาสที่จะทำาผิด โดยมุ่งป้องกันการกระทำาผิดซ้ำาซึ่งทำาได้โดยการทำาให้
ผู้กระทำาผิดหมดโอกาสที่จะกระทำาผิดได้ ซึ่งสามารถกระทำาได้ อาทิ การเนรเทศ การตัดอวัยวะ
การประหารชีวิต และการจำาคุก
๔) ก�รลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation)
การลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิดเป็นแนวคิดของสำานักปฏิฐานนิยม (Positive
School) ซึ่งเชื่อในเรื่องเจตจำานงกำาหนด (Determinism) กล่าวคือ การกระทำาของมนุษย์ถูกกำาหนด
จากปัจจัยต่าง ๆ มนุษย์ไม่สามารถเลือกการกระทำาได้อย่างอิสระ ใช้เหตุผลในการเลือก แต่มนุษย์
ถูกกดดันหล่อหลอมจากสิ่งแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ จนมีบุคลิกภาพที่บกพร่องและหันไปสู่
การกระทำาผิด การลงโทษจึงไม่ควรมุ่งเน้นที่การกระทำาความผิดเป็นหลัก แต่ควรพิจารณา
จากสาเหตุที่ทำาให้เกิดการกระทำาความผิดและการแก้ไขไปที่สาเหตุนั้น (นัทธี จิตสว่าง, ๒๕๔๑)
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 11