Page 201 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 201
๒.๒) ยกเลิกโทษประห�รชีวิตในคดีบ�งประเภทคดี
ประเทศไทยจึงควรมีการผลักดันให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
ในคดีบางประเภทที่ไม่ใช้ความรุนแรง หรือไม่เหมาะสมที่จะใช้โทษประหารชีวิตเนื่องจากอาจเกิด
ความผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ในการลงโทษ โดยย้ายออกจากกลุ่มของความผิด
ที่ต้องใช้โทษประหารชีวิต ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ ๕๕ ฐานความผิด เช่น ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ซึ่งผู้กระทำาความผิดมิใช่ตัวการใหญ่ โดยการใช้โทษทางเศรษฐกิจ เช่น การยึดทรัพย์และจำาคุก
ตลอดชีวิตแทน
๒.๓) ผลักดันให้รัฐบ�ลเร่งปฏิรูประบบเรือนจำ�ให้ส�ม�รถรองรับนักโทษ
ประห�ร ถ้�จะต้องเปลี่ยนเป็นโทษจำ�คุกตลอดชีวิต
โดยจำาเป็นที่จะต้องมีเรือนจำาที่มีความพร้อมในการรองรับนักโทษ
จำาคุกตลอดชีวิต ซึ่งจะต้องถูกจำาคุกระยะยาว และใช้เวลาอยู่ในเรือนจำาเป็นเวลานาน โดยทำาให้
เรือนจำามีความมั่นคงแข็งแรง มีประสิทธิภาพในการควบคุม สามารถป้องกันไม่ให้นักโทษจำาคุก
ตลอดชีวิตทำาความผิดก่อความเดือดร้อนต่อสังคมแม้ขณะอยู่ในเรือนจำาได้ นอกจากนี้ ยังจะต้อง
ปรับเรือนจำาให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักโทษจำาคุก
ตลอดชีวิตด้วย ทั้งนี้ การปฏิรูปดังกล่าวเป็นการยืนยันต่อสาธารชนว่าจำาคุกตลอดชีวิต
สามารถทดแทนโทษประหารชีวิตได้
๓) ระยะย�ว
๓.๑) เรียกร้องให้ทุกฝ่�ยดำ�เนินก�รให้มีก�รระงับก�รใช้โทษประห�รชีวิต
ในท�งปฏิบัติ เพื่อให้มีก�รพักก�รใช้โทษประห�รชีวิตอย่�งแท้จริง
จากข้อกำาหนดของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ จึงควรมีการ
ยกเลิกโทษประหารชีวิตด้วย เนื่องจากการลงโทษประหารชีวิตเป็นข้อห้ามของอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี
(Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment
or Punishment : CAT) โดยการลงโทษประหารชีวิตเป็นการปฏิบัติที่ต่ำากว่ามาตรฐานสากล
และเป็นการปฏิบัติของรัฐที่มีการละเมิดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น
การลงโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ควรมีการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิด เนื่องจากเป็นการลงโทษ
ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ อนุสัญญาต่อต้าน
การทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี
(Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or
Punishment : CAT) ยังได้มีข้อกำาหนดต่อการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตที่เป็น
การทรมาน หรือการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมจะกระทำาไม่ได้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ
ทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่มีต่อนักโทษประหาร อาทิ ระยะเวลาที่ยาวนานในการรอการพิจารณาคดี
188 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ