Page 199 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 199
ในการยกเลิกโทษประหารชีวิตจึงต้องเริ่มจากการรณรงค์การสื่อสาร และการให้ความรู้ความ
เข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนะต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตการรณรงค์ดังกล่าวจะต้องครอบคลุม
ทั้งการใช้สื่อทุกรูปแบบ ที่นำาเสนอเรื่องราว แนวความคิด อุทาหรณ์ และข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็น
ระบบและต่อเนื่อง เพื่อผลในการปรับเปลี่ยนทัศนะดังกล่าว และทำาให้ประชาชนในสังคมมีทัศนะ
ที่ถูกต้องต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต
๒) ก�รผลักดันเรื่องก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิตเข้�ไปเป็นนโยบ�ยของ
ฝ่�ยก�รเมือง รัฐบ�ล รัฐสภ� และองค์กรภ�ครัฐ
แนวทางที่สำาคัญต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย คือ
จะต้องผลักดันให้การยกเลิกโทษประหารชีวิตเข้าไปเป็นนโยบายของฝ่ายการเมือง รัฐบาล
รัฐสภา และองค์กรภาครัฐ เพราะการยกเลิกโทษประหารชีวิตก็คือ การยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวกับ
โทษประหารชีวิต ซึ่งจะต้องดำาเนินการโดยรัฐสภาผ่านกลไกการผลักดันของรัฐบาล ดังนั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตจะต้องมีการเรียกร้อง เข้าพบเพื่อชี้แจง
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต เพื่อผลักดัน
ให้นโยบายการยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งจำาเป็นที่จะต้องรีบดำาเนินการ
๓) ควรมีก�รศึกษ�และปรับปรุงกฎหม�ยที่เกี่ยวกับโทษประห�รชีวิต
ควรมีการศึกษาและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโทษประหารชีวิตว่า
หากจะยังคงโทษประหารชีวิตจะต้องมีการกำาหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง
(Most Serious Crime) ที่มีความชัดเจนและมีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงอย่างแท้จริง
ตามข้อกำาหนดขององค์การสหประชาชาติ
และหากจะยกเลิกโทษประหารชีวิตจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายใดบ้าง
และแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไร
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต
ในประเทศไทย หากรัฐบาลมีนโยบายในการยกเลิกโทษประหารชีวิตจริง จะสามารถนำาไปเป็น
แนวทางในการดำาเนินการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทยได้ทันที โดยในปัจจุบันยังไม่มี
การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเด็นของการปรับปรุง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากมีการศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จะทำาให้
การยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตเป็นรูปธรรมที่สามารถนำามาใช้ได้จริง หากรัฐบาลจะมีการยกเลิก
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย
186 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ