Page 204 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 204
๓) ข้อเสนอแนะต่อรัฐบ�ล
สำาหรับข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต
ประกอบด้วย
๓.๑) รัฐบ�ลต้องปฏิบัติหน้�ที่ต�มพันธกรณีของรัฐในก�รเค�รพ
(Obligation to respect) สิทธิมนุษยชน
รัฐบาลควรมีการดำาเนินการต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต
ภายใต้พันธกิจของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยรัฐบาลควร
มีการดำาเนินการให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างเด็ดขาดในสังคมไทย โดยไม่เพิกเฉยต่อ
สถานการณ์ที่เอื้อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ประชาชนทุกคนจักต้องมี
สิทธิและเสรีภาพในชีวิต ด้วยเหตุนี้รัฐบาลควรเร่งดำาเนินการแก้ไขสถานการณ์อันไม่ปกติ
และดำาเนินการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของประชาชนทั้งปวง ดังนี้
• รัฐบาลต้องดำาเนินมาตรการใดๆ อันจะส่งผลให้เกิดการยกเลิก
โทษประหารชีวิตโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๓๒ และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ในการตระหนักถึงคุณค่าความสำาคัญและปกป้องคุ้มครองสิทธิ
ของประชาชน
• รัฐบาลต้องทบทวนปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๙ รวมถึงพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.
๒๕๒๒ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๙๓ ที่เป็นเหตุให้
เกิดผลบังคับใช้โทษประหารชีวิตในสังคมและถือเป็นการละเมิด
สิทธิของประชาชนอย่างร้ายแรง
• รัฐบาลต้องให้พิจารณาทบทวนปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิก
กระบวนการในร่างกฎหมายใหม่อันจะมีผลให้มีการบัญญัติ
บังคับใช้การลงโทษประหารชีวิตใช้ในกฎหมายอนาคต หรือนำา
โทษประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
นอกจากการทบทวนปรับปรุงแก้ไขใน ๓ ประเด็นดังกล่าวแล้วจะต้อง
มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการยกเลิกโทษประหารชีวิตออกจาก
สังคมไทยอย่างเด็ดขาด เพื่อให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอภาค
และมีผลในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ จะต้องมีการตรวจสอบเร่งรัดกระบวนการแก้ไขทบทวนปรับปรุง
กฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 191