Page 200 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 200
๕.๒.๒ ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศ�สตร์
ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ประกอบด้วย
๑) ระยะสั้น
๑.๑) ก�รผลักดันให้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ –
๒๕๖๑) ที่รัฐบ�ลประก�ศอย่�งเป็นท�งก�ร ให้บรรจุตัวชี้วัดต่อคว�มสำ�เร็จในก�รดำ�เนินก�ร
ให้มีก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต
การผลักดันให้แผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.
๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ที่รัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการให้บรรจุตัวชี้วัดต่อความสำาเร็จในการดำาเนิน
การตามแผนนี้ให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเปลี่ยนให้เป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต ซึ่งจะถือเป็น
พันธะสัญญาของรัฐบาลที่จะต้องให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตตามแผนแม่บทดังกล่าว
๑.๒) เรียกร้องให้รัฐบ�ลไทยลงมติ “งดออกเสียง” หรือ “เห็นชอบ” ในก�ร
ประชุมสมัชช�ใหญ่แห่งสหประช�ช�ติ ในข้อมติเกี่ยวกับก�รพักก�รใช้โทษประห�รชีวิต ซึ่งจะมี
ขึ้นในครั้งต่อไปในปี พ.ศ. ๒๕๕๗
ควรมีการเรียกร้องให้รัฐบาลลงมติ “งดออกเสียง” หรือ “เห็นชอบ”
ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในข้อมติเกี่ยวกับการพักการใช้โทษประหารชีวิต
ซึ่งจะมีขึ้นในครั้งต่อไปในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศไทย
ต่อการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งการลงมติดังกล่าวจะทำาให้
แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตในปัจจุบัน หากแต่เป็นแนวทางหนึ่งที่
แสดงให้เห็นว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต และการลงมติ
ดังกล่าวจะทำาให้ประเทศไทยมีการพักการใช้โทษประหารชีวิต คือ ไม่มีการประหารชีวิตแก่
ผู้กระทำาผิดในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
๒) ระยะกล�ง
๒.๑) เรียกร้องให้รัฐบ�ลไทยให้สัตย�บันรับรองพิธีส�รเลือกรับฉบับที่สอง
ของกติก�ระหว่�งประเทศว่�ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิท�งก�รเมือง (Second Optional
Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights)
การเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับ
ฉบับที่สอง ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second
Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights)
ซึ่งเป็นกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เพื่อเป็นพันธะระหว่าง
ประเทศ ในการยกเลิกโทษประหารชีวิตในพิธีสารฉบับนี้ในโอกาสต่อไป
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 187