Page 197 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 197

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มีการพัฒนาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                  ของประชาชนชาวไทยมากขึ้น  รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำาผิดที่จะไม่ต้องได้รับโทษ

                  ที่มีความโหดร้ายทารุณ เพื่อความเจริญที่เทียบเท่านานาอารยะประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย

                  ได้มีการกำาหนดการบังคับใช้โทษประหารชีวิตในกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง  จึงมีความขัดแย้ง
                  ต่อรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  ได้แก่  ประมวลกฎหมายอาญาและ
                  พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  (ฉบับที่  ๕)  พ.ศ.  ๒๕๔๕  ซึ่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง

                  การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้ามาเป็นการฉีดสารพิษในปี  พ.ศ.  ๒๕๔๖  โดยประเทศไทยได้มีการ

                  ดำาเนินการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดไปแล้วจำานวนทั้งสิ้น  ๓๒๕  ราย  และมีการดำาเนินการ
                  ประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษเข้าสู่ร่างกาย  ตามประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่แล้ว
                  ๒ ครั้ง เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖ และวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นจำานวนทั้งสิ้น ๖ ราย

                  อีกทั้งจากข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๒ ประเทศไทยยังมีนักโทษประหารชีวิต

                  ที่กำาลังรอการถูกลิดรอนสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในเรือนจำาอีก ๘๑๐ ราย
                           ปัจจุบันประเทศต่าง  ๆ  ส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต
                  อันส่งผลให้ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุด

                  จึงจำาเป็นต้องพิจารณาทบทวนถึงการใช้โทษประหารชีวิตดังกล่าว  หากแต่จากผลการทบทวน

                  วรรณกรรมได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังคงเห็นด้วยกับการใช้
                  โทษประหารชีวิต  เนื่องจากเห็นว่าหากประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในการป้องกันแก้ไขปัญหา
                  อาชญากรรมที่กำาลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศ  การใช้โทษประหารชีวิตยังคงเป็นสิ่งที่

                  มีความจำาเป็นสำาหรับประเทศไทย  เพื่อเป็นการป้องปรามอาชญากรรมที่กำาลังจะเกิดขึ้น

                  อย่างไรก็ตาม  ในขณะที่ทัศนะของประชาชนอีกส่วนหนึ่งกลับเห็นว่าประเทศไทยควรมีการยกเลิก
                  การใช้โทษประหารชีวิตอย่างถาวร  เพราะโทษประหารชีวิตไม่สามารถป้องปรามอาชญากรรมได้
                  รวมทั้งประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ซึ่งการประหารชีวิต

                  เป็นการกระทำาที่ผิดศีลข้อที่  ๑  ของพระพุทธศาสนา  นอกจากนี้  จากผลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

                  กับนักโทษประหารชีวิตในประเทศไทยได้มีข้อมูลส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า  ลักษณะที่สำาคัญ
                  ของนักโทษประหารในประเทศไทยส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมการกระทำาผิดที่พลั้งพลาดหลงผิด  ไม่ได้
                  เป็นผู้ที่มีลักษณะความเป็นอาชญากรอย่างแท้จริง  การใช้โทษประหารชีวิตกับบุคคลดังกล่าว

                  อาจไม่มีความเหมาะสมและหากเกิดความผิดพลาดในการนำาผู้บริสุทธิ์มาประหารชีวิต อาจจะทำาให้

                  ไม่สามารถแก้ไขได้เลย
                           แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะยังคงมีโทษประหารชีวิต  แต่ในทางปฏิบัติมีแนวโน้ม
                  ที่จะชะลอหรือพักการประหารชีวิต  โดยภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการประหารชีวิต

                  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ หลังจากนั้นเป็นระยะเวลาเกือบ ๔ ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ประเทศไทย

                  ยังไม่ได้มีการประหารชีวิตแต่ประการใด  ดังนั้น  หากประเทศไทยจะยกเลิกโทษประหารชีวิต
                  ในอนาคต  อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สำาคัญต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม  และเป็นการ






      184      คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202