Page 196 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 196

ไม่กล้ากระทำาผิด  เพราะโทษที่หนักจะมีผลในการยับยั้งต่อเมื่อการบังคับใช้กฎหมายมีความ
                     แน่นอน รวดเร็วและเสมอภาค ดังนั้น โทษประหารชีวิตจึงมีผลยับยั้งต่อการกระทำาผิดของบุคคล

                     ทั่วไป  แต่ไม่มีผลในการยับยั้งผู้ร้ายหรือผู้กระทำาผิดที่เป็นอาชญากรมืออาชีพ  ซึ่งมีความชำานาญ

                     และตัดสินใจทำาผิดเพราะคิดว่าตัวเองจะหลุดรอดจากกฎหมายได้  หรือผู้กระทำาผิดที่มีปัญหา
                     ด้านการควบคุมอารมณ์ที่กระทำาไปโดยไม่ได้คิดไตร่ตรอง หรือมีข้อจำากัดในการคิดไตร่ตรอง เนื่องจาก
                     ถูกครอบงำาจากสภาพแวดล้อมหรือสิ่งเสพติด

                             สำาหรับปัจจัยที่ทำาให้ประเทศใดประเทศหนึ่งมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตเร็วกว่า

                     ประเทศอื่น  คือ  ปัจจัยทางด้านการเมือง  ได้แก่  ระดับความเป็นประชาธิปไตย  การพัฒนา
                     ของระบอบประชาธิปไตยของประเทศ  โดยการที่ประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบ
                     ประชาธิปไตยจะมีแนวโน้มที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตมากกว่าประเทศที่มีระบอบการปกครอง

                     แบบเผด็จการ  เพราะประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมักจะยอมรับรัฐธรรมนูญที่จำากัดอำานาจ

                     ของรัฐบาลและมีหลักฐานว่ามักจะเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนของพลเมือง  นอกจากนี้  พื้นฐาน
                     ทางการเมืองของผู้บริหารประเทศที่ผู้นำาทางการเมืองมีลักษณะความเป็นประชาธิปไตยสูง
                     รวมทั้ง  กล้าตัดสินใจในการยกเลิกโทษประหารชีวิต  ประสบการณ์ของประเทศเกี่ยวกับสงคราม

                     และการถูกกดดันจากประเทศอื่นให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นการเป็นสมาชิก

                     สภายุโรป การถูกกดดันจากประเทศข้างเคียงในภูมิภาคเดียวกัน จะทำาให้ประเทศดังกล่าวสามารถ
                     ยกเลิกโทษประหารชีวิตได้ง่าย
                             ปัจจุบันนี้ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต  โดยพบว่า

                     ประเทศมากกว่าสองในสามของประเทศต่าง  ๆ  ในโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมาย

                     และในทางปฏิบัติ ดังจะเห็นได้จากข้อมูลเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปรากฏดังนี้
                                 • ๙๗ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารสำาหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท
                                 • ๘ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารสำาหรับความผิดทางอาญาทั่วไปเท่านั้น

                                 • ๓๕ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารในทางปฏิบัติ

                                 • ๑๔๐ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ
                                 • ๕๘ ประเทศ ยังคงบทลงโทษประหาร
                             โดยในทางปฏิบัติ  มีประเทศสหรัฐอเมริกาที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ในบางมลรัฐ

                     แต่มีมลรัฐกว่าครึ่งหนึ่งที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว  ในขณะที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน

                     มีประเทศฟิลิปปินส์ และกัมพูชา ที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว
                             สำาหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต  โดยมีพัฒนาการ
                     ของการประหารชีวิตตั้งแต่อดีตมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันดังเช่นประเทศต่าง  ๆ  กล่าวคือ  มีการ

                     ประหารชีวิตที่มีความโหดร้ายทารุณในอดีต เพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทนเป็นสำาคัญ หากแต่ปัจจุบัน

                     ได้มีการประหารชีวิตที่มีมนุษยธรรมมากขึ้น ตามแนวคิดในการลงโทษผู้กระทำาผิดที่ได้เปลี่ยนแปลงไป
                     สำาหรับกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตในปัจจุบันปรากฏว่า  ข้อกำาหนด






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 183
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201