Page 206 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 206
๕.๒.๔ แนวท�งก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิตในประเทศไทย
สำาหรับแนวทางการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย ประกอบด้วย
๑) ให้ก�รศึกษ� อบรม เพื่อให้คว�มรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติของประช�ชน
กลุ่มต่�ง ๆ
การให้การศึกษา อบรม เพื่อให้ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติของ
ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มสื่อมวลชน ข้าราชการ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภา ให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อต้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต ไปสู่ทัศนคติที่เป็นกลาง
และทัศนะที่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด โดยการดำาเนินการดังกล่าวนี้ จะต้อง
กระทำาต่อเนื่องและใช้ยุทธวิธีหลากหลายในการอบรมและปรับเปลี่ยนกลุ่มผู้นำาทางความคิด
ซึ่งจะมีผลในการชี้นำากลุ่มอื่น ๆ ต่อไป
๒) ผลักดันให้มีก�รนำ�ม�ตรก�รที่จะนำ�ไปสู่ก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต
โดยดำ�เนินก�รแบบค่อยเป็นค่อยไป ทีละขั้นตอน เพื่อลดก�รต่อต้�น
การผลักดันให้มีการนำามาตรการที่จะนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต
โดยดำาเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ทีละขั้นตอน เพื่อลดการต่อต้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต
เช่น
• เริ่มจากการบรรจุแผนการยกเลิกโทษประหารชีวิตไว้ในแผน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓
• หลังจากนั้น อาจเสนอให้มีการแก้กฎหมายไม่ใช้โทษประหารชีวิต
ในความผิดที่ไม่ใช่คดีร้ายแรง หรืองดการประหารชีวิตไว้จนครบ ๑๐ ปี
• หลังจากนั้นจึงประกาศพักการใช้โทษประหารชีวิต และประกาศยกเลิก
โทษประหารชีวิต โดยการแก้กฎหมายเป็นการถาวรต่อไป
๓) ก�รผลักดันให้มีก�รดำ�เนินก�รคู่ขน�นไปกับม�ตรก�รในก�รนำ�ไปสู่
ก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต
ควรมีการผลักดันให้มีการดำาเนินการคู่ขนานไปกับมาตรการในการนำาไปสู่
การยกเลิกโทษประหารชีวิต ได้แก่
• การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ
สำาหรับการผลักดันให้มีมาตรการในการดำาเนินการคู่ขนานไปกับ
มาตรการในการนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต คือ จะต้องมีการปรับปรุงระบบยุติธรรมให้มี
ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายในการลงโทษผู้กระทำาผิดด้วยความรวดเร็วและแน่นอน
เพื่อผลในการยับยั้งการกระทำาผิด เพราะจะทำาให้ผู้ที่คิดจะกระทำาผิดเกิดความเกรงกลัวไม่ต้องการ
กระทำาผิด เพราะเล็งเห็นผลว่าหากได้กระทำาผิดโอกาสที่จะถูกจับกุมหรือถูกดำาเนินคดีมีสูงมาก