Page 202 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 202
การถูกคุมขังเดี่ยว สภาพแวดล้อมทางเรือนจำาที่ไม่ดีการขาดโอกาสในการศึกษา หรือการไม่ได้
เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
โดยอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่น
ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel,
Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) มีความเชื่อว่าการประหารชีวิต
เป็นการลงโทษที่มีความโหดร้ายที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยการลงโทษประหารชีวิตเด็ก
และเยาวชนเป็นสิ่งที่ต้องห้ามโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ การประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่เป็น
การกระทำาที่มีความโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ
นักโทษประหาร นับตั้งแต่การรอการพิจารณาคดี สภาพแวดล้อมขณะถูกควบคุมตัวซึ่งมี
ผลกระทบต่อสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของนักโทษประหาร รวมทั้งวิธีการประหารชีวิตที่แสดง
ให้เห็นถึงความโหดร้ายทารุณ ดังนั้น การประหารชีวิตจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมีการนำามาใช้ในการปฏิบัติ
ต่อผู้กระทำาผิด (Juan E. Mendez, 2012)
ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต เนื่องจาก
การลงโทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่มีความโหดร้ายที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อันเป็นการกระทำาที่ขัดต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman
or Degrading Treatment or Punishment : CAT) ประกอบกับปัจจุบันประเทศไทยได้มีการ
ว่างเว้นจากการบังคับใช้โทษประหารชีวิตมาเป็นระยะเวลา ๔ ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนั้น
ถ้าหากสามารถทำาให้ว่างเว้นจากการประหารชีวิตไปได้ครบ ๑๐ ปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จะถือว่า
ประเทศไทยได้มีการพักการใช้โทษประหารชีวิต จึงควรมีการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำาเนินการ
ให้มีการพักการใช้โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ครบ ๑๐ ปี
ซึ่งจะถือว่าประเทศไทยได้มีการพักการใช้โทษประหารชีวิตอย่างแท้จริง อันจะเป็นก้าวสำาคัญ
ที่จะนำาไปสู่การยกเลิกกฎหมาย ในส่วนที่เกี่ยวกับโทษประหารชีวิตต่อไป สำาหรับแนวโน้ม
ความเป็นไปได้ในการพักการใช้โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๓ จนกระทั่งถึง
พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมระยะเวลา ๑๐ ปี จะมีความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับนโยบายที่สำาคัญของการเมือง
ในแต่ละยุคสมัยที่ให้ความสำาคัญต่อการสร้างความสงบสุขให้แก่สังคม เพื่อแก้ไขปัญหา
อาชญากรรมโดยสามารถทำาให้อาชญากรรมลดลง หรือนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำาคัญ
ต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นสำาคัญ
๓.๒) ดำ�เนินก�รผลักดันให้มีก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิตในคว�มผิด
ทุกประเภทและในกฎหม�ยของไทยทุกฉบับ
จะต้องมีการดำาเนินการผลักดันให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
ในความผิดทุกประเภทและในกฎหมายของไทยทุกฉบับ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการ
ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตอย่างแท้จริง เนื่องจากแม้ปัจจุบัน ข้อกำาหนดของรัฐธรรมนูญ
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 189