Page 205 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 205
๓.๒) รัฐบ�ลต้องปฏิบัติหน้�ที่ต�มพันธกรณีของรัฐในก�รดำ�เนิน
ม�ตรก�รที่จำ�เป็นและเพียงพอที่จะทำ�ให้สิทธิมนุษยชนเกิดผลและเป็นจริง (Obligation to
Fulfill) โดยรัฐบ�ลควรมีก�รดำ�เนินก�ร
• ระหว่างมีการพิจารณาทบทวนยกเลิกแก้ไขประมวลกฎหมาย
อาญา ให้มีคำาสั่งยับยั้งการบังคับใช้โทษประหารชีวิตในทุกคดี
ความผิด
• ระหว่างที่มีการพิจารณายกเลิกโทษประหารชีวิต รัฐบาลต้อง
ออกพระราชบัญญัติปรับปรุงทบทวนแก้ไขกฎหมายให้เปลี่ยนจาก
โทษประหารชีวิตเป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิตเด็ดขาดแทน โดย
โทษจำาคุกตลอดชีวิตเด็ดขาดจะมีระยะเวลาเด็ดขาดตายตัว
อย่างน้อยที่สุด ๒๕ ปี
• ให้มีการตราพระราชบัญญัติมิให้โทษจำาคุกตลอดชีวิต ได้รับ
การลดโทษ หรือได้รับพระราชทานอภัยโทษ หากต้องนำา
ทูลเกล้าฯ ให้มีการนำาทูลเกล้าฯ โดยเสนอไม่ให้มีการพิจารณา
โปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษ
• ระยะเวลาในการจำาคุกของนักโทษจำาคุกตลอดชีวิตขึ้นอยู่กับ
ดุลยพินิจของศาล โดยกำาหนดให้จำาคุกไม่ต่ำากว่า ๒๕ ปี
และไม่เกิน ๕๐ ปี ทั้งนี้ หากนักโทษได้รับโทษถึงเกณฑ์
ขั้นต่ำาสุดแล้ว สามารถพิจารณาให้มีการขอลดโทษได้ โดยจะต้อง
มีการพิจารณาพฤติกรรมและความพร้อมของนักโทษต่อไป
• การพิจารณาลดโทษจะต้องดำาเนินการโดยกรมราชทัณฑ์
หรือมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ เพื่อรับ
ผิดชอบโดยตรง
• หากเกิดกรณีนำาเรื่องความผิดของผู้ต้องโทษมาพิจารณาใหม่
และมีความเห็นว่านักโทษไม่มีความผิดจริง ศาลสามารถ
นำาเรื่องขึ้นมาพิจารณาดำาเนินคดีใหม่ได้ แม้นักโทษจะยังไม่ได้
รับโทษครบตามเกณฑ์ระยะเวลาขั้นต่ำา
• ตระหนักถึงความสำาคัญของสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
โดยรัฐบาลต้องเข้าเป็นภาคีและดำาเนินการตามพิธีสารเลือกรับ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
การเมือง ฉบับที่ ๒ โดยมีเนื้อหาสำาคัญเพื่อมุ่งเน้นให้มีการ
ยกเลิกโทษประหารชีวิต