Page 198 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 198

คุ้มครองสิทธิของประชาชนชาวไทย  รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิผู้กระทำาผิดเพื่อให้เป็นไปตาม
                     มาตรฐานสากลและเป็นการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

                             อย่างไรก็ตาม  มีสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีทิศทางในการขับเคลื่อน

                     ไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต กล่าวคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                     ได้ตัดคำาว่า “โทษประหารชีวิต” ออกไป จากเดิมที่เคยปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     พุทธศักราช  ๒๕๔๐  ทำาให้การแก้ไขกฎหมายเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ

                     นอกจากนี้  ประเทศไทยยังมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในเด็กและเยาวชนอายุต่ำากว่า  ๑๘  ปี

                     ตลอดจนสตรีมีครรภ์  ซึ่งเป็นไปตาม  ข้อ  ๖  (๕)  ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
                     และสิทธิทางการเมือง นอกจากนี้ ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖)
                     ได้กำาหนดให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยให้เปลี่ยนเป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต  ขณะที่ในแผน

                     สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ได้กำาหนดตัวชี้วัดในลักษณะเดียวกัน

                     ในการยกเลิกโทษประหารชีวิต และเปลี่ยนเป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต ภายในปี ๒๕๖๑
                             ในส่วนท่าทีของรัฐบาลไทยที่สำาคัญ คือ การที่รัฐบาลไทยได้ลงมติ “งดออกเสียง” ในการ
                     ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ  (Moratorium)  ในข้อมติเกี่ยวกับการพักการใช้

                     โทษประหารชีวิต  เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๕๕  ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีท่าทีอ่อนลง  โดยลงมติ

                     “งดออกเสียง” จากที่เคยลงมติ “คัดค้าน” มาโดยตลอด ดังนั้น จึงเป็นสัญญาณที่ดีว่าแนวโน้ม
                     ในการคัดค้านต่อโทษประหารชีวิตในประเทศไทยเริ่มลดลง  อันจะนำาไปสู่การออกเสียงลงมติ
                     “สนับสนุน”  และมีการพักการใช้โทษประหารชีวิตอย่างต่อเนื่องในทางปฏิบัติหากครบ  ๑๐  ปี

                     นับจากครั้งสุดท้ายที่มีการประหารชีวิตในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ คือ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒

                     ก็จะถือว่าประเทศไทยได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ  อันจะเป็นการปูทางนำาไปสู่
                     การยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมายในโอกาสต่อไป





                     ๕.๒  ข้อเสนอแนะ



                             จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น มีข้อเสนอแนะต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต ดังนี้



                             ๕.๒.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบ�ยและก�รปรับปรุงกฎหม�ย

                                       ๑) ก�รรณรงค์และก�รให้คว�มรู้คว�มเข้�ใจแก่ประช�ชน เพื่อปรับเปลี่ยน
                                          ทัศนะต่อก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต

                                         เนื่องจากประชาชนโดยทั่วไป  สื่อมวลชน  รวมทั้งหน่วยราชการหลายแห่ง

                     ยังมีทัศนะที่ไม่เห็นด้วยต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต  เนื่องจากเกรงว่าหากมีการยกเลิกการใช้
                     โทษประหารชีวิต  จะส่งผลต่อจำานวนอาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้น  ดังนั้น  การขับเคลื่อนนโยบาย






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 185
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203