Page 195 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 195

Covenant  on  Civil  and  Political  Rights)  ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำาคัญที่ต้องการให้ประเทศ
                  ต่าง  ๆ  มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  โดยกำาหนดให้เมื่อประเทศสมาชิกได้มีการลงนามแล้ว

                  จะต้องไม่มีการลงโทษประหารชีวิตในประเทศดังกล่าวสำาหรับอาชญากรรมร้ายแรงทั่วไป

                  (Ordinary  Crime)  ทุกประเภทคดี  หากแต่สามารถใช้โทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรม
                  ร้ายแรง (Most Serious Crime) ระหว่างสงคราม ตามคำาพิพากษาคดีอาญาร้ายแรงทางทหาร
                  ที่กระทำาในระหว่างสงคราม รวมทั้งอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่น

                  ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel,

                  Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) มีข้อกำาหนดต่อการปฏิบัติ
                  ที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตที่เป็นการทรมาน  หรือการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมจะกระทำาไม่ได้
                  รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่มีต่อนักโทษประหาร

                  และกฎหมายระหว่างประเทศอื่น  ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต  อันแสดง

                  ให้เห็นถึงอิทธิพลของสังคมโลกต่อประเทศไทยในบทบาททางด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างดียิ่ง
                  และยังเป็นการสะท้อนถึงภาวะความตื่นตัวของประเทศไทยในการปรับตัวและเรียนรู้มิติ
                  ทางด้านสิทธิมนุษยชนจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน  การลงนามในสนธิสัญญาต่าง  ๆ  จึงเป็น

                  การพัฒนาพื้นฐานหลักการทางด้านสิทธิมนุษยชนให้มีความเป็นอารยะและได้รับการยอมรับ

                  จากนานาประเทศว่าประเทศไทยให้ความสำาคัญต่อมิติทางด้านสิทธิและศักดิ์ศรีของมนุษย์
                  เป็นสำาคัญ
                           ด้วยเหตุผลดังกล่าว  นานาอารยประเทศจึงร่วมกันผลักดันให้มีการยกเลิกโทษ

                  ประหารชีวิต  โดยปรากฏออกมาเป็นกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ

                  ทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น  ในขณะที่แนวโน้มของการใช้โทษประหารชีวิตในประเทศต่าง  ๆ
                  ทั่วโลก  มีท่าทีลดลงอย่างต่อเนื่องประเทศส่วนใหญ่ได้ยุติการใช้โทษประหารชีวิตไปแล้ว
                  ทั้งในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ  เนื่องจากเหตุผลสำาคัญ  คือ  โทษประหารชีวิตเป็นโทษ

                  ที่ละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  คือ  สิทธิในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์อันเป็นสิทธิ

                  ที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่อย่างเสมอกัน  โดยไม่คำานึงถึงชาติพันธุ์  ศาสนา  และสถานภาพทางสังคม
                  และทางกฎหมาย  โดยเป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลได้  นอกจากนี้  โทษประหารชีวิต
                  ยังเป็นโทษที่ทารุณโหดร้าย  เป็นการลงโทษต่อเนื้อตัวและทรมาน  ขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็น

                  มนุษย์  และขัดต่อหลักศีลธรรมและหลักศาสนาต่าง  ๆ  เพราะเป็นการทำาลายชีวิต  แม้ว่า

                  บุคคลที่ถูกทำาลายชีวิตจะเป็นผู้ทำาลายชีวิตผู้อื่นก่อนก็ตาม  นอกจากนี้  ในทางกฎหมายการใช้
                  โทษประหารชีวิตมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดโดยอาจถูกนำาไปใช้กับผู้บริสุทธิ์  เพราะระบบ
                  ยุติธรรมไม่ว่าในประเทศใดอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม

                  ดังนั้น  หากมีการประหารชีวิตไปแล้ว  จะไม่สามารถเรียกชีวิตกลับคืนมาได้  แม้ต่อมาภายหลัง

                  จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ถูกประหารชีวิตผู้นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ตาม ในขณะเดียวกันโทษประหารชีวิต
                  แม้จะเป็นโทษที่รุนแรงสูงสุดตามกฎหมาย  แต่ก็ไม่มีผลในการยับยั้งที่จะทำาให้คนเกรงกลัวและ






      182      คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200