Page 194 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 194

เกิดประโยชน์สูงสุดแต่ประการใด นอกจากนี้ การใช้โทษประหารชีวิตไม่สามารถมีผลต่อการยับยั้ง
                     อาชญากรรมได้อย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการกระทำาที่ขัดต่อหลักของศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการกระทำา

                     ที่ขัดต่อหลักการของศาสนาพุทธ คือ ข้อกำาหนดของศีลข้อที่ ๑ ที่ห้ามฆ่าสัตว์ นอกจากนี้ ข้อกำาหนด

                     ของศาสนายิว (Judiasm) ปีที่ ๗๐ ก่อน คริสตศักราช ได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตเนื่องจากเห็นว่า
                     เป็นการลงโทษที่มีความโหดร้ายทารุณ เป็นการลงโทษที่พระเจ้าเท่านั้นที่มีความเหมาะสมต่อการใช้
                     โทษดังกล่าว โดยในโรงเรียนกฎหมายต่าง ๆ ได้มีการกล่าวอ้างถึงข้อความของนักปราชญ์ชาวยิว

                     Maimonides  ที่กล่าวว่า  “การปล่อยคนกระทำาผิดจำานวน  ๑,๐๐๐  คน  เป็นสิ่งที่ดีกว่าการนำา

                     คนบริสุทธิ์เพียงคนเดียวมาลงโทษจนกระทั่งเสียชีวิต”
                             แม้กระทั่งข้อกำาหนดของศาสนาอิสลาม  ที่ได้มีข้อกำาหนดที่อนุญาตให้สามารถ
                     ประหารชีวิตได้  แต่เหยื่อหรือครอบครัวของเหยื่อมีสิทธิที่จะขออภัยโทษได้  และจากคำาสอน

                     ของศาสนาคริสต์ที่แม้จะมีการแบ่งเป็นนิกายต่าง ๆ และในอดีตบางนิกายอาจจะเห็นด้วยกับ

                     การใช้โทษประหารชีวิต  ในขณะที่บางนิกายอาจจะไม่เห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต
                     แต่ในปัจจุบันนี้ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันต่อการใช้โทษประหารชีวิต  คือ
                     ไม่เห็นด้วยต่อการใช้โทษประหารชีวิต

                             นอกจากนี้ สถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและในหลายประเทศทั่วโลก

                     มองว่าการลงโทษประหารชีวิตเป็นการกระทำาที่โหดร้าย  ไร้มนุษยธรรม  ขัดต่อหลักการพื้นฐาน
                     สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิในการมีชีวิต (Right to Life) และหากมีความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม
                     ก็อาจมีการลงโทษผู้ที่มิได้กระทำาความผิดได้  และถ้าคำานึงถึงกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่ที่ให้

                     ความสำาคัญด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิด การลงโทษประหารชีวิตก็เท่ากับเป็นการตัดโอกาสไม่ให้

                     ผู้กระทำาผิดได้แก้ไขฟื้นฟูตัวเอง ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำาคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์
                     ด้านสิทธิมนุษยชนของหลายประเทศในปัจจุบัน
                             สำาหรับแนวคิดด้านการให้ความสำาคัญต่อสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีผลต่อแนวคิด

                     ในการยกเลิกโทษประหารชีวิต  ประกอบด้วย  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  (Universal

                     Declaration of Human Rights) ถือเป็นมาตรฐานที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ได้ร่วมกัน
                     จัดทำาเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนทั่วโลก  ซึ่งการประหารชีวิตถือเป็น
                     การปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตของมนุษย์  ตามปฏิญญา

                     สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  รวมทั้งพิธีสารเลือกรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง

                     และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR)
                     มีข้อกำาหนดที่สำาคัญต่อการเคารพสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยของพลเมืองในประเทศ
                     เป็นสำาคัญ  ซึ่งประเทศไทยได้มีการปฏิบัติตามข้อกำาหนดของพิธีสารดังกล่าวในประเด็น

                     ที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับผู้ที่มีอายุต่ำากว่า  ๑๘  ปี  และสตรีผู้ที่

                     ตั้งครรภ์  นอกจากนี้  จากพิธีสารเลือกรับฉบับที่สอง  แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
                     สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  (Second  Optional  Protocol  to  the  International






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 181
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199