Page 193 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 193

และข้อเสนอแนะ บ








                                                 ทที่ ๕






                                                 บทสรุป
















                  ๕.๑  บทสรุป



                           รายงานการศึกษา  เรื่อง  “โทษประหารชีวิตในประเทศไทย”  มีวัตถุประสงค์

                  เพื่อสังเคราะห์และบูรณาการจากการรวบรวมข้อมูล  หลักคิด  ปฏิญญา  อนุสัญญา

                  กติกา  ระหว่างประเทศ  ผลการศึกษาวิจัย  ผลการเสวนา  บทความ  วิทยานิพนธ์
                  ข่าวสารจากสื่อต่าง  ๆ  และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโทษประหารชีวิต  ทั้งจากใน
                  และต่างประเทศ โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)

                           จากการศึกษาในเรื่องดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้

                           โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษผู้กระทำาผิดที่มีกำาหนดโทษสูงสุดของสังคม
                  มาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีวิวัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้โทษประหารชีวิต
                  คือ  การใช้โทษประหารชีวิตนับตั้งแต่อดีตมาจนกระทั่งปัจจุบันมีวัตถุประสงค์หลัก

                  ของการลงโทษ คือ การแก้แค้นทดแทน การข่มขู่ ยับยั้ง การตัดโอกาสในการกระทำาผิด

                  โดยในอดีตเป็นการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้ายทารุณเพื่อแก้แค้นทดแทนต่อผู้กระทำา
                  ผิดเป็นสำาคัญ  อันเป็นแนวคิดในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมตามหลักตาต่อตา
                  ฟันต่อฟัน  จึงทำาให้การประหารชีวิตมีรูปแบบที่โหดร้ายทารุณ  ในขณะที่ต่อมาการใช้

                  โทษประหารชีวิตเน้นหลักการข่มขู่ยับยั้ง  และการตัดโอกาสในการกระทำาผิด  เพื่อเป็น

                  การตอบสนองต่อรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรมในสังคม
                  ซึ่งรูปแบบของการลงโทษประหารชีวิตจะมีความโหดร้ายทารุณน้อยกว่าการลงโทษ
                  ประหารชีวิตในช่วงยุคแรก

                           หากแต่ปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการลงโทษได้เปลี่ยนแปลงไป  โดยมีการเน้น

                  วัตถุประสงค์ของการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิดเป็นสำาคัญ  ประกอบกับสังคม
                  เริ่มมองว่าการลงโทษประหารชีวิตเพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทน  ไม่ได้ทำาให้สังคม






       180     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198