Page 186 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 186
• การยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมทั่วไป (Ordinary Crime) ซึ่งปัจจัย
ที่มีผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตในกลุ่มนี้ ได้แก่ ลักษณะความเป็นผู้นำาทาง
การเมือง หากแต่ปัญหาความขัดแย้ง ระบอบกฎหมายจารีตประเพณี (Common
Law) และการต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ไม่มีผลต่อการยกเลิก
โทษประหารชีวิตอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตที่สำาคัญของประเทศ
ต่าง ๆ ทั่วโลก ประกอบด้วย
๑. ปัจจัยด้�นก�รเมือง
เป็นปัจจัยที่มีความสำาคัญต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
มากที่สุด โดยประกอบด้วย
- ระดับของคว�มเป็นประช�ธิปไตย
ประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและมีความเป็นประชาธิปไตย
อย่างแท้จริง จะให้ความสำาคัญต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศ รวมทั้ง
การยกเลิกโทษประหารชีวิต เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตของ
ประชาชนในประเทศ
- แนวคิดท�งก�รเมืองของผู้บริห�รประเทศ
ประเทศที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตมักมีผู้นำาทางการเมืองที่มีลักษณะความเป็น
ประชาธิปไตยสูง รวมทั้งกล้าตัดสินใจในการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยการแสดงให้ประชาชน
ในประเทศมีความเชื่อมั่นต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต และมีความมุ่งมั่นในการยกเลิกโทษประหาร
ชีวิตอย่างแท้จริง
- ก�รถูกกดดันต่อก�รยกเลิกโทษประห�ร
ปัจจัยที่สำาคัญอีกประการหนึ่งของการยกเลิกโทษประหารชีวิตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
คือ การถูกกดดันจากประเทศอื่นให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเป็นสมาชิก
สภายุโรป การถูกกดดันจากประเทศข้างเคียงในภูมิภาคเดียวกัน ทำาให้ประเทศที่ถูกกดดัน
ต้องยกเลิกโทษประหารชีวิต เพราะไม่เช่นนั้นอาจมีผลกระทบต่อการเมืองของประเทศ
- ประสบก�รณ์ในก�รเกิดสงคร�มของประเทศ
ประเทศที่มีประสบการณ์ในการเกิดสงครามจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตง่ายกว่า
อาจเนื่องจากเพื่อต้องการรักษาความสงบของประเทศ รวมทั้งอาจถูกกดดันจากประเทศอื่น ๆ
ซึ่งการยกเลิกโทษประหารชีวิตจะสามารถกระทำาได้ง่ายในช่วงที่ประเทศไม่มีสงคราม
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 173