Page 188 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 188
สิทธิมนุษยชนด้วยการยกเลิกโทษประหารชีวิต รวมทั้งองค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติ
ในกัมพูชา (United Nations Transitional Authority in Combodia : UNTAC) ได้เข้าไป
ในปี ค.ศ. ๑๙๙๒ เพื่อช่วยเหลือในการร่างประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญาและได้เสนอให้ประเทศกัมพูชาได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยในปี
ค.ศ. ๑๙๙๓ ประเทศกัมพูชาได้มีรัฐธรรมนูญใหม่ที่เน้นในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยประชาชน
ทุกคนจะต้องมีสิทธิในการมีชีวิตมีสิทธิเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย และได้มีข้อกำาหนดที่ว่า
จะไม่มีโทษประหารชีวิตในประเทศกัมพูชา ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
(Moratorium) ในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ประเทศกัมพูชาได้ยกมือสนับสนุนการยกเลิกโทษประหารชีวิต ในปี
ค.ศ. ๒๐๐๘ ปี ค.ศ. ๒๐๑๐ และ ปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ตามลำาดับ (Anne Katrine Mortensen, 2008)
สรุปได้ว่า แนวคิดที่สำาคัญในการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศกัมพูชาเกิดขึ้น
เนื่องจากความขัดแย้งหรือสงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชา ทำาให้องค์การระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติได้เข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้สงครามในประเทศเกิดความสงบ โดยมี
ข้อกำาหนดให้ประเทศกัมพูชาจะต้องตระหนักและให้ความสำาคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนภายใน
ประเทศเป็นสำาคัญ โดยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยการกำาหนดในรัฐธรรมนูญที่จะต้องให้ความสำาคัญ
ต่อสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศ ซึ่งรวมทั้งการกำาหนดให้รัฐธรรมนูญ
มีข้อกำาหนดที่ไม่มีโทษประหารชีวิต
ก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิตในประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์เคยยกเลิกโทษประหารชีวิตตามรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. ๑๙๘๗ หลังจาก
ที่มีการประหารชีวิตผู้กระทำาผิดประมาณ ๑๒ คน จากการทำาความผิดในข้อหาข่มขืนและยาเสพติด
ในสมัยรัฐบาลฟิลิปปินส์ภายใต้การนำาของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์กอส อย่างไรก็ตาม
สภาผู้แทนราษฎรนำาบทลงโทษดังกล่าวกลับมาใช้อีกเมื่อปลายปี ค.ศ. ๑๙๙๓ สำาหรับผู้กระทำา
ความผิดด้านอาชญากรรม ทั้งฆาตกรรม ข่มขืนเด็ก และลักพาตัว และเพิ่มประเภทความผิดที่ต้อง
รับโทษประหารชีวิต ซึ่งรวมถึงความผิดจากการค้ายาเสพติด โดยมีผู้กระทำาผิดได้รับโทษแล้ว ๗ คน
ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์มีผู้กระทำาผิดที่ได้รับโทษประหารชีวิตประมาณ ๑,๒๐๐ คน
ฟิลิปปินส์ยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ และกำาหนดให้
การจำาคุกตลอดชีวิตเป็นโทษสูงสุด โดยไม่มีการนิรโทษกรรม โดยประธานาธิบดีกลอเรีย อาร์โรโย
ของฟิลิปปินส์ลงนามในกฎหมายยกเลิกโทษประหารชีวิตในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ โดยสภาผู้แทนราษฎร
อนุมัติร่างกฎหมาย ดังกล่าวในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ แม้จะเผชิญการต่อต้านจากกลุ่มต่อต้านอาชญากรรม
ที่เชื่อว่าประธานาธิบดีอาร์โรโย ซึ่งเป็นคาทอลิกจะอนุมัติกฎหมายดังกล่าว เพื่อสร้างความพอใจ
ให้สมเด็จพระสันตะปาปา เนื่องจากประธานาธิบดีอาร์โรโย มีกำาหนดเยือนสำานักวาติกัน ในปี
ค.ศ. ๒๐๐๖ (Anne Katrine Mortensen, 2008)
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 175