Page 181 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 181

โดยไม่คำานึงถึง สถานภาพ ชาติพันธุ์ ศาสนา และสถานะทางกฎหมาย เป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไป
                  จากบุคคลได้ แต่การจะใช้โทษประหารชีวิตย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเลือกปฏิบัติ เพราะส่วนใหญ่

                  ของนักโทษที่ถูกประหารชีวิต คือ คนยากจน คนด้อยโอกาสซึ่งไม่สามารถจ้างทนายความที่มีฝีมือ

                  เพื่อแก้ต่างให้กับตนเองได้  หรือเป็นคนเชื้อชาติ  ผิว  หรือสถานะทางสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
                  โดยเฉพาะ  แสดงให้เห็นว่าโทษประหารชีวิตได้ถูกนำามาใช้แบบเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ  ผิว
                  และสถานะทางสังคม

                           นอกจากนี้  การใช้โทษประหารชีวิตยังมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด  โดยอาจถูก

                  นำาไปใช้กับผู้บริสุทธิ์ เพราะระบบยุติธรรมไม่ว่าในประเทศใด อาจมีความผิดพลาดได้ในทุกขั้นตอน
                  ของกระบวนการยุติธรรม  ดังนั้น  หากมีการประหารชีวิตไปแล้วก็จะไม่สามารถเรียกชีวิตกลับคืน
                  มาได้ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ถูกประหารชีวิตนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ตาม

                           ที่สำาคัญมีงานวิจัยหลายเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่า  โทษประหารชีวิตไม่มีผลในการข่มขู่  ยับยั้ง

                  ที่ทำาให้คนเกรงกลัวและไม่กล้ากระทำาผิด  เพราะโทษที่หนักจะมีผลในการยับยั้งต่อเมื่อการบังคับใช้
                  กฎหมายมีความแน่นอนรวดเร็ว  และเสมอภาค  ดังนั้น  โทษประหารชีวิตจึงมีผลต่อการยับยั้ง
                  การกระทำาผิดของบุคคลทั่วไป (ซึ่งไม่ทำาผิดอยู่แล้ว) แต่ไม่มีผลในการยับยั้งผู้ร้าย หรือผู้กระทำาผิด

                  ที่เป็นอาชญากรอาชีพ  มีความชำานาญและตัดสินใจทำาผิดเพราะคิดว่าตัวเองหลุดรอด  หรือ

                  ผู้กระทำาผิดที่มีความโหดเหี้ยมทารุณ ซึ่งกระทำาไปแบบไม่ได้คิดไตร่ตรอง หรือมีข้อจำากัดในการคิด
                  ไตร่ตรอง เนื่องจากถูกครอบงำาจากสภาพแวดล้อมหรือสิ่งเสพติด
                           ในขณะที่แนวโน้มของการใช้โทษประหารชีวิตในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีจำานวนลดลงอย่าง

                  ต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ประเทศส่วนใหญ่ได้ยุติการประหารชีวิตไปแล้ว ทั้งในทางกฎหมาย

                  และทางปฏิบัติ ๑๔๐ ประเทศ โดยมี ๙๗ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารสำาหรับความผิดทางอาญา
                  ทุกประเภท ๘ ประเทศ ยกเลิกโทษประหารสำาหรับความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น และ ๓๕ ประเทศ
                  ยกเลิกโทษประหารในทางปฏิบัติ ในขณะที่มีเพียง ๕๘ ประเทศ ที่ยังคงมีบทลงโทษประหารชีวิต

                  โดยในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น มี ๒ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมาย ได้แก่

                  ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา
                           แนวความคิดของฝ่ายนี้จึงต้องการให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยทันที  โดยการ
                  ออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายยกเลิกโทษประหารชีวิต



                           ฝ่�ยที่ ๕ ฝ่�ยยกเลิกโทษประห�รชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไป

                           โดยที่ฝ่ายที่ต้องการให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศ  ได้ตระหนักถึงแรงต้าน
                  จากสาธารณชนที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านอย่างหนักต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต  ดังนั้น

                  การเคลื่อนไหวของฝ่ายนี้จึงหันไปเน้นที่ฝ่ายการเมือง รัฐบาล และองค์กรภาครัฐ เพราะการยกเลิก

                  โทษประหารชีวิตจะต้องดำาเนินการโดยรัฐสภาหรือกลไกผลักดันของรัฐบาล  ขณะเดียวกัน
                  ก็ยอมรับในความเป็นไปได้ของการยกเลิกโทษประหารชีวิตว่าจะต้องดำาเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป






       168     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186