Page 191 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 191
ปัจจัยด้านระดับความเป็นประชาธิปไตยของประเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำาไปสู่การยกเลิก
โทษประหารชีวิต กล่าวคือ
จากการยกเลิกโทษประหารชีวิตของ ๒ ประเทศดังกล่าวข้างต้น มีความสอดคล้อง
กับงานวิจัยของ แอนนี มอร์เทนเซน (๒๐๐๘) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงมิติทางการเมือง วัฒนธรรม
และเศรษฐกิจสังคมของการยกเลิกโทษประหารชีวิต จากการศึกษาประเทศต่าง ๆ ๑๔๕ ประเทศ
ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๖๐ – ๒๐๐๔ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่ทำาให้ประเทศใดประเทศหนึ่ง
มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตเร็วกว่าประเทศอื่น คือ ปัจจัยทางด้านการเมือง ซึ่งได้แก่ระดับ
ความเป็นประชาธิปไตย การพัฒนาของระบอบประชาธิปไตย พื้นฐานทางการเมืองของผู้บริหาร
ประเทศ ประสบการณ์ของประเทศเกี่ยวกับสงคราม และแรงกดดันให้ยกเลิกโทษประหาร
โดยเฉพาะแรงกดดันทางด้านเศรษฐกิจจากนานาชาติ การที่ประเทศที่มีระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตย จะมีแนวโน้มที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตมากกว่าประเทศที่มีระบอบ
การปกครองแบบเผด็จการ เพราะประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมักจะยอมรับรัฐธรรมนูญที่จำากัด
อำานาจของรัฐบาล และมีหลักฐานว่ามักจะเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนของพลเมือง ทั้งนี้ ยกเว้น
สหรัฐอเมริกาแล้วประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นเผด็จการ อย่างไรก็ตาม
มีบางประเทศที่ผู้นำาของประเทศมีภาวะผู้นำาสูง สามารถประกาศยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยที่
เสียงของประชาชนส่วนใหญ่คัดค้าน ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า ไม่จำาเป็นต้องตามเสียงส่วนใหญ่เสมอไป
แต่ภาวะผู้นำาของผู้นำาเป็นสิ่งจำาเป็น สำาหรับแรงกดดันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ให้
ความช่วยเหลือประเทศนั้น ๆ ก็นับว่ามีอิทธิพลต่อการยกเลิกโทษประหาร เพราะจะถูกบีบ
ด้วยอำานาจทางเศรษฐกิจและการปฏิรูประบอบการปกครองตามมา นอกจากนี้ การผ่านภาวะ
สงครามก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ประเทศนั้นจะผ่านการฆ่ากันเป็นจำานวนมาก จึงทำาให้ไม่ต้องการ
ให้มีการฆ่ากันอีกโดยเฉพาะจากรัฐ ดังนั้น โดยสรุปแล้ว ปัจจัยที่สำาคัญก็คือ ระดับความเป็น
ประชาธิปไตยของประเทศนั้น และแรงกดดันจากประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือจากประเทศ
มหาอำานาจให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต
178 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ