Page 187 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 187

๒. ปัจจัยท�งด้�นเศรษฐกิจสังคม

                              ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจสังคมเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต
                  ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกน้อยกว่าปัจจัยทางด้านการเมือง โดยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจสังคมที่มีผล

                  ต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต ได้แก่ ประเทศที่เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับประเทศอื่นจะส่งผลต่อการยกเลิก
                  โทษประหารชีวิตมากกว่าประเทศที่ไม่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจจากประเทศอื่น



                              ตัวอย่�งประเทศที่มีก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต

                              ตัวอย่างประเทศที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประชาคมอาเซียน ได้แก่ ประเทศ
                  กัมพูชาและประเทศฟิลิปปินส์ ดังนี้

                           - ก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิตในประเทศกัมพูช�
                           ประเทศกัมพูชาได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในปี ค.ศ. ๑๙๘๙ สำาหรับอาชญากรรม

                  ทุกประเภท  โดยได้กำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ  ประเทศกัมพูชาใช้ระยะเวลาที่
                  ยาวนานในการยกเลิกโทษประหารชีวิต  โดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้กำาหนดให้มี

                  การยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงนโยบายใหม่ในการสิ้นสุดการ
                  ปกครองของรัฐบาลพลพต  และตามมาด้วยการสู้รบระหว่างกองกำาลัง  PRK  ของรัฐบาล

                  และกองกำาลังฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายเขมรแดง  ซึ่งองค์การระหว่างประเทศได้กดดันและให้
                  ความช่วยเหลือ  โดยให้ประเทศกัมพูชาได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  โดยความพยายาม

                  ขององค์การระหว่างประเทศดังกล่าว  เพื่อต้องการให้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศกัมพูชา
                  ได้สิ้นสุดโดยเร็ว  การสู้รบได้สิ้นสุดลงภายหลังได้ตกลงทำาสัญญาในปี  ค.ศ.  ๑๙๙๑  และได้มี

                  การตกลงทำาสัญญาฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม  ปี  ค.ศ.  ๑๙๙๑  ซึ่งได้ลงนามสัญญาจาก  ๓  ฝ่าย
                  ที่มีความขัดแย้ง

                           พันธะสัญญาต่อประเทศกัมพูชา ในมาตรา ๑๕ (๒) ได้กำาหนดถึงการให้ความเคารพต่อ
                  สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของประชาชนในประเทศเป็นสำาคัญ  และจะต้องปฏิบัติตามการเคารพ

                  สิทธิมนุษยชนตามข้อกำาหนดระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง  โดยรัฐธรรมนูญจะต้องมีการประกาศถึง
                  การเคารพต่อสิทธิในการมีชีวิตอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และจะต้องมีความ

                  สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights)
                  โดยได้มีเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติเข้าไปเป็นที่ปรึกษาและให้คำาแนะนำาในการเตรียม

                  ความพร้อมต่อการยุติสงคราม รวมทั้งการเตรียมร่างกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและการเตรียม
                  ความพร้อมต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเคารพ

                  สิทธิมนุษยชน
                           นอกจากนี้  องค์การระหว่างประเทศได้ผลักดันให้ประเทศกัมพูชาได้มีการปฏิบัติตาม

                  ข้อตกลงฝรั่งเศสในการเคารพสิทธิมนุษยชน  ด้วยการให้ประเทศกัมพูชาได้มีการยกเลิกโทษ
                  ประหารชีวิต อาทิ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เขียนจดหมายถึงรัฐบาลให้ตระหนักถึงการเคารพ






      174      คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192