Page 185 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 185
• ระดับของความเป็นประชาธิปไตย
• การเปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตย
• แนวคิดทางการเมืองของผู้บริหารประเทศ
• การถูกกดดันต่อการยกเลิกโทษประหาร อาทิ การเป็นสมาชิกสภายุโรป การถูก
กดดันจากประเทศข้างเคียงในภูมิภาคเดียวกัน
• ประสบการณ์ในการเกิดสงคราม โดยหากเป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่มีสงครามจะทำาให้
การยกเลิกโทษประหารชีวิตสามารถกระทำาได้ง่ายกว่าในช่วงที่ประเทศกำาลังมีสงคราม
สำาหรับปัจจัยทางด้านสังคมที่มีผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต ประกอบด้วย
• ระบอบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) แบบประเทศอังกฤษ มีผลต่อการ
ยกเลิกโทษประหารชีวิต แม้จะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในช่วงแรกน้อย หากแต่
ในระยะเวลาต่อมามีการยกเลิกโทษประหารชีวิตมากขึ้น
• ประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม หรือเป็นชาวมุสลิมไม่ต้องการ
ยกเลิกการใช้โทษประหาร เนื่องจากมีบทบัญญัติของศาสนาที่สามารถประหารชีวิต
ผู้กระทำาผิดที่หลักศาสนาได้กำาหนดไว้ กล่าวคือ ระบบของกฎหมายซึ่งกำาเนิด
มาจากความเชื่อ การยอมรับโทษประหารชีวิตของมุสลิมนั้นมีพื้นฐานมาจากคำาพูด
ของอัลลอฮ์ที่บันทึกเอาไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งไม่สามารถยกเลิกได้ โทษประหาร
ชีวิตนั้นเป็นของที่มาคู่กับการฆาตกรรมที่มีการไตร่ตรองเอาไว้ล่วงหน้า การคบชู้
ของบุคคลที่แต่งงานแล้ว การละทิ้งศาสนา และการเป็นสายให้กับศัตรูในช่วงเวลา
สงคราม (สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน สสส, ๒๕๕๑)
ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจสังคมที่มีผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต ได้แก่ ประเทศที่
เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับประเทศอื่นจะส่งผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตมากกว่าประเทศที่ไม่ต้อง
พึ่งพาเศรษฐกิจจากประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาไม่ได้แสดงให้เห็นว่าระดับของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
หรือสิทธิมนุษยชนมีผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต
การยกเลิกโทษประหารชีวิตมี ๒ แนวทาง ได้แก่
• การยกเลิกโทษประหารชีวิตสำาหรับอาชญากรรมทุกประเภท ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการ
ยกเลิกโทษประหารชีวิตในกลุ่มนี้ ได้แก่ ลักษณะความเป็นผู้นำาทางการเมืองที่มี
ความเป็นกลาง ประสบการณ์ของประเทศในการเกิดปัญหาความขัดแย้ง ระบอบ
กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) และการต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจ
กับประเทศอื่น
172 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ