Page 184 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 184

ดังนั้น  หากประเทศไทยต้องการยกเลิกโทษประหารชีวิตจะต้องมีการสร้างความมั่นใจ
                     ให้แก่บุคคลในสังคมที่มีจุดยืนที่แตกต่างกัน  ให้มีความคิดเห็นหรือจุดยืนที่สอดคล้องกัน  เพื่อให้

                     บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต  เพราะคิดว่าการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                     อาจส่งผลต่อจำานวนอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นได้  รวมทั้งเห็นว่าการมีโทษประหารชีวิตเป็นโทษ
                     ที่สาสมกับความผิดของอาชญากรที่มีต่อเหยื่ออาชญากรรม  ได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิด
                     ต่อการใช้โทษประหารชีวิต  โดยต้องมีกระบวนการในการสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับ

                     การยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งมีความจำาเป็นที่จะต้องทำาให้ประชาชนในสังคมทุกฝ่ายมีความคิดเห็น

                     ที่สอดคล้องกัน  โดยอาจมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไป  เพื่อเป็นการสร้าง
                     ความเชื่อมั่นและการปรับทัศนคติของบุคคลในสังคมต่อการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต จนกระทั่ง
                     บุคคลที่มีจุดยืนต่อโทษประหารชีวิตมีทัศนคติต่อการใช้โทษประหารชีวิตที่เหมือนกัน  รวมทั้งมีการ

                     พัฒนามาตรการในการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดในรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้โทษประหารชีวิต

                     ควบคู่ไปด้วย  จนกระทั่งกลุ่มบุคคลทั้ง  ๕  ฝ่ายในสังคมหมดความขัดแย้งและประเทศไทย
                     มีความพร้อมอย่างแท้จริงในการจัดการหรือป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของสังคม  ควบคู่กับ
                     มาตรการของกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาอาชญากรรม จึงมีการ

                     ยกเลิกโทษประหารชีวิต จะทำาให้เป็นการลดความขัดแย้งของสังคม และทำาให้มาตรการการยกเลิก

                     โทษประหารชีวิตของประเทศไทยมีประสิทธิภาพ
                             โดยสรุป จะต้องพยายามปรับเปลี่ยนทัศนคติของกลุ่มที่คัดค้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต
                     ให้กลับมาสนับสนุน หรือไม่คัดค้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มการเมือง องค์กร

                     ภาครัฐ และสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำาคัญในการแก้ไขกฎหมายและยกเลิกโทษประหารชีวิต





                     ๔.๗  ปัจจัยที่ส่งผลต่อก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิตของประเทศ
                            ต่�ง ๆ ทั่วโลก




                             สำาหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังแสดงให้
                     เห็นจากงานวิจัยของแอนนี มอร์เทนเซน (Anne Katrine Mortensen, 2008) เรื่อง “การยกเลิก

                     โทษประหารชีวิต : การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคมที่เป็นปัจจัย

                     ต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าปัจจัยทางด้านการเมือง วัฒนธรรม
                     เศรษฐกิจ  สังคมมีผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตหรือไม่  อย่างไร  โดยทำาการศึกษาประเทศ
                     จำานวน ๑๔๕ ประเทศ ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๖๐-๒๐๐๔ ที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตและการคงไว้

                     ซึ่งโทษประหารชีวิต

                             ผลการศึกษาปรากฏว่า  ปัจจัยทางด้านการเมืองมีผลต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต
                     มากกว่าปัจจัยทางด้านสังคม โดยเฉพาะลักษณะของการเมือง ซึ่งประกอบด้วย






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 171
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189