Page 189 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 189

สำาหรับกรณีของประเทศฟิลิปปินส์นับเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ควรนำามาเป็นกรณีศึกษา
                  เพราะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วนำากลับมาใช้ใหม่  จากนั้นจึงกลับมายกเลิกอีกครั้งจนถึง

                  ปัจจุบัน ทั้งนี้ ประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการใช้โทษประหารชีวิตมาเป็นเวลานานจนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

                  ทางการเมืองขนานใหญ่ ประธานาธิบดีมาร์กอส ต้องลงจากอำานาจในปี ค.ศ. ๑๙๘๖ ด้วยการถูกกดดัน
                  จากกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีบทบาทสำาคัญในการโค่นล้มรัฐบาลของ
                  ประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์กอส ทำาให้รัฐธรรมนูญของประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. ๑๙๘๗ ได้กำาหนด

                  ให้มีโทษประหารชีวิตเฉพาะคดีอาญากรรมบางคดีเท่านั้น  จนโทษประหารชีวิตแทบจะไม่มีผล

                  ในทางปฏิบัติ จึงเท่ากับว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปโดยปริยาย และนับเป็น
                  ประเทศแรกในทวีปเอเชียที่มีการดำาเนินการในเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต
                           อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปได้ประมาณ ๑๓ ปี เมื่อประเทศ

                  ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้น  ทั้งด้านปริมาณและความรุนแรง  ทำาให้

                  ประชาชนบางส่วนและนักการเมืองกดดันให้ประธานาธิบดีฟีเดล รามอส แก้กฎหมายให้มีการประหาร
                  ชีวิตสำาหรับอาชญากรรมในคดีอุฉกรรจ์ ๑๓ คดี เช่น ข่มขืน ฆาตกรรม ค้ายาเสพติด ขึ้นมาใหม่
                  ในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ เป็นผลให้ประเทศฟิลิปปินส์มีการนำาโทษประหารชีวิตกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้

                  โดยมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการประหารชีวิตจากเดิมที่ใช้วิธีการยิงเป้า มาเป็นการฉีดสารพิษให้เสียชีวิต

                  ประเทศฟิลิปปินส์จึงได้มีการดำาเนินการประหารชีวิตนักโทษต่อเนื่องกันมาจนถึงปี ค.ศ. ๒๐๐๖ ทั้งนี้
                  ในบางช่วงอาจมีการพักการประหารชีวิตไปบ้าง เช่น ในช่วงปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ที่ประธานาธิบดีโจเซฟ
                  เอสตราด้า ได้ประกาศพักการลงโทษประหารชีวิตตลอดทั้งปี ตามคำาร้องขอของบาทหลวงศาสนา

                  คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  เพื่อเป็นการฉลองวันประสูติครบ  ๒,๐๐๐  ปี  ของพระเยซู  ซึ่งทำาให้

                  นักโทษประหารชีวิตที่จะถูกประหารในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ จำานวน ๑๘ ราย ได้เปลี่ยนโทษเป็นจำาคุก
                  ตลอดชีวิต  อย่างไรก็ตาม  การประกาศพักการลงโทษประหารชีวิตดังกล่าว  ทำาให้ฝ่ายต่อต้าน
                  ที่สนับสนุนการใช้โทษประหารชีวิตไม่พอใจต่อคำาตัดสินและโจมตีอย่างรุนแรง  โดยให้เหตุผลว่า

                  แม้จะเคารพบาทหลวง แต่ก็ควรเคารพกฎหมายด้วย มิฉะนั้นกฎหมายจะไม่เป็นกฎหมาย

                           อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. ๒๐๐๖ นี้เองที่ประธานาธิบดีกลอเรีย อาร์โรโย ได้ออกกฎหมาย
                  ยกเลิกโทษประหารชีวิตอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเป็นผลมาจากการกดดันของกลุ่มศาสนาคริสต์
                  นิกายโรมันคาทอลิก  ซึ่งเป็นกลุ่มศาสนาที่ทรงอิทธิพลในประเทศฟิลิปปินส์  โดยเฉพาะการ

                  ประกาศยกเลิกโทษประหารชีวิตดังกล่าวได้กระทำาในช่วงก่อนที่ประธานาธิบดีกลอเรีย  อาร์โรโย

                  จะเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาที่กรุงวาติกัน  ในปีนั้น  ผลจากการยกเลิกโทษประหารชีวิต
                  ดังกล่าว  ทำาให้นักโทษ  ๑,๒๓๐  คน  ได้รับการเปลี่ยนโทษจากโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำาคุก
                  ตลอดชีวิต  โดยมีการจำาคุกในขั้นต่ำา  ๓๐  ปี  ซึ่งองค์การนิรโทษกรรมสากลได้ระบุว่านับเป็น

                  การเปลี่ยนโทษประหารชีวิตที่มากที่สุดในโลก  โดยการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศ

                  ฟิลิปปินส์ดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าประเทศฟิลิปปินส์จะไม่กลับมาใช้โทษประหาร
                  ชีวิตใหม่แต่ประการใด  แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดในการยกเลิกโทษประหารชีวิตของประเทศ
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194