Page 190 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 190

ฟิลิปปินส์ใน  ๒-๓  ครั้งที่ผ่านมา  ล้วนเป็นผลมาจากการกดดันจากกลุ่มศาสนาคริสต์  นิกาย
                     โรมันคาทอลิก  ซึ่งเป็นกลุ่มศาสนาที่มีอิทธิพลในประเทศฟิลิปปินส์  โดยมีผลต่อความเชื่อ

                     และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเป็นอย่างมาก  ซึ่งส่งผลต่อคะแนนเสียงที่นักการเมืองจะต้องให้

                     ความสนใจ  และมีพลังในการกดดันฝ่ายการเมืองซีกรัฐบาลให้มีการแก้กฎหมายให้ยกเลิก
                     โทษประหารชีวิตดังกล่าว  แม้จะมีประชาชนและนักการเมืองอีกส่วนหนึ่งออกมาคัดค้านก็ตาม
                     ดังนั้น  จึงเห็นได้ว่าปัจจัยที่สำาคัญอีกประการหนึ่งในการนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตก็

                     คือ  ระดับการเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้น  ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับการศึกษาของ  Anne

                     Katrine Mortensen (2008) ที่ระบุว่า ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศต่าง ๆ เป็นปัจจัย
                     นำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต





                             สรุปปัจจัยที่จะทำ�ให้เกิดก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต


                             จากกรณีศึกษาของประเทศกัมพูชาและฟิลิปปินส์ พบว่าปัจจัยสำาคัญที่นำาไปสู่การยกเลิก

                     โทษประหารชีวิตใน ๒ ประเทศดังกล่าว ได้แก่
                             ๑. คว�มช่วยเหลือและแรงกดดันจ�กต่�งประเทศ

                                 ในกรณีของประเทศกัมพูชาเห็นได้ชัดเจน  หลังจากที่ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม
                     และมีกลุ่มการเมือง ๓ ฝ่าย ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนในที่สุดต้องให้องค์การระหว่างประเทศ

                     และประเทศมหาอำานาจเข้ามาช่วยดำาเนินการไกล่เกลี่ยจนเกิดความสงบและมีการร่างรัฐธรรมนูญ
                     ขึ้นมาใหม่  ประกอบกับที่ประเทศผ่านสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันมามาก  จึงทำาให้กัมพูชา

                     ไม่ต้องการให้มีการฆ่ากันอีก  จึงเห็นชอบให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างเป็นทางการ
                     ในปี  ค.ศ.  ๑๙๙๓  ตามแรงกดดันทางต่างประเทศ  ตลอดจนเพื่อแลกกับการช่วยเหลือจาก

                     ต่างประเทศในด้านต่าง ๆ
                             ๒. อิทธิพลของศ�สน�และคว�มเป็นประช�ธิปไตย

                                 ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์  จากกรณีศึกษาจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่สำาคัญที่ทำาให้เกิด
                     การเปลี่ยนแปลงและนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตก็คือ  แรงกดดันจากกลุ่มศาสนาคริสต์

                     นิกายโรมันคาทอลิก  ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากในประเทศฟิลิปปินส์  ทำาให้สมาชิกรัฐสภา
                     และฝ่ายการเมืองต้องยอมตาม  เนื่องจากกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีอิทธิพล

                     ต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งเป็นอย่างมาก  ดังนั้น  จึงเห็นได้ว่าปัจจัยที่สำาคัญอีกประการหนึ่ง
                     ในการนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตก็คือ  ระดับความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้น  ๆ

                     เพราะการที่จะยกเลิกและแก้ไขกฎหมายได้นั้น  จะต้องกระทำาโดยผ่านกระบวนการทางรัฐสภา
                     และผลักดันโดยฝ่ายการเมือง  ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของแอนนี  มอร์เทนเซน  (Anne

                     Mortensen,  2008)  ที่ชี้ให้เห็นว่าจากการศึกษาประเทศต่าง  ๆ  กว่า  ๑๔๕  ประเทศ  พบว่า
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195