Page 182 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 182

ซึ่งได้ทำาสำาเร็จไปแล้วในบางส่วน กล่าวคือ การยกเลิกโทษประหารชีวิตในเด็กและเยาวชน ตลอดจน
                     สตรีมีครรภ์ และการที่ประเทศไทยได้ลงมติ “งดออกเสียง” และไม่คัดค้านต่อข้อมติการพักใช้โทษ

                     ประหารชีวิตในการประชุมสมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ ซึ่งเป็น

                     ครั้งแรกหลังจากที่ประเทศไทยลงมติคัดค้านมาโดยตลอด นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำาแผนแม่บทสิทธิ
                     มนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖) โดยมีตัวชี้วัดที่ระบุถึงการยกเลิกโทษประหาร
                     ชีวิตในประเทศไทย สำาหรับในการดำาเนินการต่อไป ฝ่ายที่ต้องการให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                     ได้มีการดำาเนินการในด้านต่าง ๆ ในการก้าวไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต ดังนี้

                              ๑. การผลักดันให้แผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑)
                                 ที่รัฐบาลจะประกาศอย่างเป็นทางการให้บรรลุตัวชี้วัดต่อความสำาเร็จในการ
                                 ดำาเนินการตามแผนนี้ให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยเปลี่ยนให้เป็น

                                 โทษจำาคุกตลอดชีวิต  ซึ่งจะถือเป็นพันธะสัญญาของรัฐบาลที่จะให้มีการยกเลิก

                                 โทษประหารชีวิตตามแผนแม่บทดังกล่าว
                              ๒. เรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงมติ  “งดออกเสียง”  หรือ  “เห็นชอบ”  ในการประชุม
                                 ของคณะกรรมาธิการของที่ประชุมสมัชชาใหญ่ แห่งองค์การสหประชาชาติ ในข้อมติ

                                 เกี่ยวกับการพักการใช้โทษประหารชีวิต

                              ๓. เรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สอง  ของกติกา
                                 ระหว่างประเทศ  ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  (Second  Optional
                                 Protocal to the International Covenant or Civil and Political Rights)

                              ๔. ย้ายการกระทำาผิดที่ไม่ใช้ความรุนแรงออกจากกลุ่มที่ต้องใช้โทษประหารชีวิต  เช่น

                                 คดีการก่อการร้าย หรือคดียาเสพติด
                              ๕. พักการบังคับโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ และเสริมสร้างประชามติ เพื่อเป็นขั้นแรก
                                 ที่จะนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด

                             มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการแบบค่อยเป็นค่อยไปที่จะนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต

                     อย่างแท้จริงในที่สุด ซึ่งที่จำาเป็นต้องนำามาใช้ในทางปฏิบัติ ในกรณีที่กระแสการต่อต้านการยกเลิก
                     โทษประหารชีวิตยังมีอย่างแพร่หลายในสังคม
                             ดังนั้น ความเห็นของฝ่ายต่าง ๆ ต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตของประชาชนชาวไทย

                     จึงสามารถแบ่งได้เป็น ๕ ฝ่าย คือ

                             ฝ่ายที่ ๑ ฝ่ายคัดค้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต
                             ฝ่ายที่ ๒ ฝ่ายคัดค้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่ยอมยกเลิกถ้าปฏิบัติตามเงื่อนไข
                             ฝ่ายที่ ๓ ฝ่ายเป็นกลาง

                             ฝ่ายที่ ๔ ฝ่ายเสนอให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต

                             ฝ่ายที่ ๕ ฝ่ายยกเลิกโทษประหารชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไป
                             ซึ่งปรากฏตามแผนภูมิต่อไปนี้






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 169
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187