Page 180 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 180
ต่าง ๆ ที่นำาไปสู่สาเหตุของอาชญากรรม เช่น แหล่งอบายมุขต่าง ๆ
๓. ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนต่อเรื่องการใช้โทษประหารชีวิต
อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
๔. สำาหรับมาตรการระยะสั้นที่จะต้องดำาเนินการ หากจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
คือ จะต้องมีการพัฒนาระบบเรือนจำาให้มีความมั่นคงแข็งแรง และมีประสิทธิภาพ
ในการรองรับนักโทษประหารชีวิตที่จะถูกเปลี่ยนโทษมาเป็นจำาคุกตลอดชีวิต
เพื่อเป็นการยืนยันต่อสาธารณชนว่ามาตรการจำาคุกตลอดชีวิตจะไม่ก่อให้เกิด
ความเดือดร้อนต่อสังคมแม้ขณะอยู่ในเรือนจำา นอกจากนี้ การเปลี่ยน
โทษประหารชีวิต เป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิตจะทำาให้จำานวนนักโทษจำาคุก
ตลอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่ในการคุมขังยังไม่เพียงพอ ดังนั้น จะทำาให้
ผู้ต้องโทษตลอดชีวิตจะต้องถูกควบคุมตัวในสภาพที่แออัดไปตลอด ซึ่งอาจจะ
เป็นการทรมานและละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่าการถูกประหารชีวิต ดังนั้น
การพัฒนาระบบเรือนจำาและสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนถึงระบบการพัฒนา
พฤตินิสัยเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ต้องโทษเมื่อได้รับการปลดปล่อยออกมาแล้วจะสามารถ
ปรับตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์และเงื่อนไขของสังคมได้
๕. เงื่อนไขอีกประการหนึ่ง คือ การพัฒนาระบบการดูแลและคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย
ในกระบวนการยุติธรรมให้ทัดเทียมกับการทุ่มเทคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำาผิด เพื่อให้
สาธารณชนเห็นว่า ผู้เสียหายก็ได้รับการดูแล เยียวยา และคุ้มครองสิทธิเช่นเดียวกัน
หากกล่าวโดยสรุปแนวความคิดของกลุ่มนี้ถือว่าหากมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวนี้ได้
ก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งควรยกเลิกโทษประหารชีวิต
เมื่อสังคมไทยมีความพร้อมต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว
ฝ่�ยที่ ๓ ฝ่�ยเป็นกล�ง
คนที่อยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่ไม่มีความสนใจในประเด็นนี้ ไม่มีความเห็นว่าควรสนับสนุน
การยกเลิกโทษประหาร หรือไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต การตัดสินใจอาจก้ำากึ่งที่จะ
ตัดสินใจว่าควรยกเลิกหรือไม่ยกเลิกโทษประหารชีวิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับว่ามีความต่อเนื่อง
และมีเหตุผลเพียงพอที่จะทำาให้เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่งได้ นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังมีพวกที่ลังเล
ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อฝ่ายใด จึงไม่กล้าที่จะออกเสียงหรือมีความเห็นในเรื่องนี้ เสียงของคนกลุ่มนี้จึงเป็น
เสียงที่เป็นกลางหรือไม่แน่ใจที่จะตัดสินใจในประเด็นนี้
ฝ่�ยที่ ๔ ฝ่�ยเสนอยกเลิกโทษประห�รชีวิต
ในส่วนของฝ่ายที่ต้องการให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตจะเห็นว่าโทษประหารชีวิต
เป็นโทษที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในการมีชิวิตอยู่ของมนุษย์ ที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสมอกัน
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 167