Page 154 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 154
อาชญากรรมได้ แต่เมื่อดูจากหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรปก็พบว่าไม่เป็นความจริง แต่การ
บังคับใช้กฎหมายอย่างเที่ยงตรง เป็นธรรม และประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแลสังคมต่างหาก
ที่จะช่วยลดอาชญากรรมได้ นอกจากนี้ ยังเห็นว่าการคงโทษประหารชีวิตไว้ก็คือการคงความรุนแรง
เอาไว้ในสังคม ซึ่งถ้าในสังคมหนึ่งยังยอมรับความรุนแรงต่อชีวิตก็แน่นอนว่าจะยอมรับความรุนแรง
ต่อชีวิตในรูปแบบอื่น ๆ และจะเป็นการยากที่จะไปห้ามความรุนแรงในมิติต่าง ๆ นอกจากนี้ ประเทศไทย
จำาเป็นต้องมีรูปธรรมที่อธิบายได้ว่า หากจะยกเลิกโทษประหารชีวิตในอีก ๕-๑๐ ปี เราควรทำาอะไรบ้าง
เช่น ยกเลิกบางฐานความผิดก่อน เช่น ความผิดเกี่ยวกับกบฏ แล้วเปลี่ยนมาเป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต
นอกจากนี้ เนื่องจากเรือนจำามีความแออัดทำาให้มีความพยายามระบายคนออกจากคุก แต่ในบางกรณี
ก็ไม่เป็นไปตามหลักวิชา จึงทำาให้คนออกมากระทำาผิดซ้ำา หากจะยกเลิกโทษประหารก็ต้องเคร่งครัด
ในประเด็นนี้
น�งส�วปริญญ� บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำ�นวยก�รแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
ประเทศไทย กล่าวถึงรายงานเมื่อปี ๒๕๕๔ ที่ศึกษาสถิติเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตทั่วโลก
ซึ่งพบว่ามี ๑๔๑ ประเทที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่าเกือบทั้งโลกยกเลิก
โทษประหารชีวิตแล้ว ทั้งนี้ บางประเทศยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตไปแล้ว บางประเทศ
ยังมีกฎหมายอยู่ แต่ยกเลิกในทางปฏิบัติซึ่งหมายความว่า ยังมีโทษนี้อยู่ในกฎหมาย
แต่ไม่เคยลงโทษประหารชีวิตเป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี ประเทศส่วนน้อยในโลกหรือราว
๒๐ ประเทศเท่านั้นที่ยังมีโทษประหารชีวิต เช่น จีน อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย อิรัก สหรัฐอเมริกา
และไทย ทั้งนี้ ในปี ๒๕๕๔ มีประชากร ๑๘,๗๕๐ คนทั่วโลก ถูกประหารชีวิต โดยประเทศจีน
มีสถิติการประหารชีวิตรวมแล้วมากกว่าจำานวนผู้ถูกประหารชีวิตทั่วโลกรวมกัน สำาหรับในแถบ
เอเชียแปซิฟิกนั้น มีประเทศที่ยกเลิกโทษนี้แล้ว ได้แก่ ฟิลิปปินส์และกัมพูชา และยังมีประเทศ
ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติแล้ว ได้แก่ ลาว พม่า ศรีลังกา
แนวโน้มทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนจากทฤษฎีการลงโทษเพื่อการแก้แค้น มาเป็นการลงโทษ
เพื่อแก้ไขฟื้นฟู และทางแอมเนสตี้ฯ รณรงค์ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตมายาวนาน เพราะโทษ
ประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิการมีชีวิต บ่อยครั้งมักเกิดขึ้นหลังจากการไต่สวนที่ไม่เป็นธรรม
บ่อยครั้งมาจากคำาให้การที่ได้มาจากการข่มขู่ทรมาน แอมเนสตี้ฯ พบว่า กระบวนการยุติธรรม
ยังมีความเสี่ยงในการตัดสินที่ผิดพลาด ส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์จำานวนมากทั่วโลกถูกจองจำา นอกจากนี้
งานวิจัยหลายฉบับชี้ตรงกันว่า เหยื่อของโทษประหารชีวิตมักเป็นคนยากจน และกลุ่มเปราะบาง
ในสังคม และที่สำาคัญ คือ พบว่าโทษประหารชีวิตไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการลดอาชญากรรม
น�ยสุพจน์ เวชมุข ผู้อำ�นวยก�รกลุ่มง�นนิติก�ร สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชน
แห่งช�ติ กล่าวถึงตัวอย่างคดีจำานวนหนึ่งซึ่งได้รับการตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งหากได้รับ
โทษประหารชีวิตไปแล้วจะขอคืนความเป็นธรรมอย่างไร เมื่อผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิตไปแล้วนั้น
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 141