Page 156 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 156

นอกจากนี้  ยังได้กล่าวเสริมว่า  “เราอย่าเอาบ้านเราที่เป็นระดับที่เรียกว่าด้อยพัฒนา
                     ไปเทียบกับประเทศในระดับสูง  เราต้องดูว่า  ความเหมาะสมของบ้านเรามีมากน้อยแค่ไหน

                     และอยากให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระวังตัวอย่าเป็นตกเครื่องมือของใคร”

                             นายเกรียงฯ  กล่าวว่าองค์กรต่าง  ๆ  ที่ต้องการยกเลิกโทษประหาร  เกิดขึ้นจากสภาพ
                     ของโลกในองค์การสหประชาชาติที่ต้องการจะเชิดชูคุณธรรมเรื่องการรักษาสิทธิของมนุษย์
                             “ผมขอเรียนว่าการดำาเนินงานขององค์กรต่าง  ๆ  ต้องมีความระมัดระวัง  เราต้อง

                     เปรียบเทียบว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ผมว่าเวลานี้ยังไม่เหมาะ รอให้ผมตายไปก่อนดีกว่า”



                             นักศึกษ�จ�กคณะนิติศ�สตร์  สถ�บันบัณฑิตพัฒนบริห�รศ�สตร์  ท่านหนึ่ง
                     แสดงความคิดเห็นว่า ไม่ควรยกเลิกโทษประหารชีวิต เพราะอาชญากรส่วนใหญ่กลัวโทษ จึงไม่ควร

                     ลดโทษให้รุนแรงน้อยลง และเมื่อตัวจำาเลยหรือผู้กระทำาผิดเองยังไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น ก็ไม่จำาเป็น

                     ต้องเคารพสิทธิของเขา

                             นักศึกษ�ปริญญ�โท จ�กสถ�บันบัณฑิตพัฒนบริห�รศ�สตร์ ท่านหนึ่งเห็นว่า

                     การกำาหนดโทษทางอาญามีขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติหรือให้โทษแก่ผู้กระทำาผิด แม้อาจ

                     มองได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระทบต่อเนื้อตัวร่างกาย  แต่การกระทบสิทธินั้น
                     ก็เป็นสิทธิของตัวเขาเท่านั้น  ไม่ใช่การละเมิดสิทธิของสังคมโดยรวม  และแน่นอนว่า  การลงโทษ
                     ประหารชีวิต  คือ  การตัดผู้กระทำาผิดออกจากสังคมโดยเด็ดขาด  แม้จะมีงานวิจัยออกมาแล้วว่า

                     ไม่ทำาให้คนกลัว  แต่ก็ยังสามารถกันคนออกจากสังคมโดยเด็ดขาดได้  โดยได้ตั้งคำาถามว่า

                     แม้จะมีงานวิจัยที่ว่าโทษประหารชีวิตไม่ได้ทำาให้คนเกรงกลัว  แต่มีคนทำาวิจัยหรือไม่ว่าเมื่อไม่มี
                     โทษประหารชีวิตแล้วอาชญากรรมจะลดลง  และประเด็นที่มีผู้เสนอเกี่ยวกับการลงโทษ
                     เพื่อการฟื้นฟูนั้น  มีความเชื่อมั่นว่าจะไม่ทำาให้คนที่ผ่านกระบวนการฟื้นฟูแล้วกลายเป็นคนดี

                     โดยสมบูรณ์  ยกตัวอย่าง  คดียาเสพติดที่แม้เอาคนที่ติดยาเสพติดไปเข้าการฟื้นฟูออกมาแล้ว

                     ก็พบว่ายังคงเสพยาต่อไป ดังนั้น ย่อมมีผู้กระทำาผิดที่ยังทำาผิดต่อไปหลุดรอดมาในสังคมแน่นอน

                             น�ยเกรียงชัย วิศิษฏ์สรอรรถ จ�กว�รส�รยุติธรรม เห็นว่า ประเทศไทยควรยกเลิก

                     โทษประหารชีวิต  แต่ไม่ใช่เวลานี้  เพราะการประหารชีวิตในบางกรณีก็เหมือนการเชือดไก่ให้ลิงดู

                     สังคมไทยเป็นสังคมแบบมือถือสากปากถือศีลที่ทำาเหมือนไม่มีความรุนแรงอยู่  แต่ความจริงก็ยังมี
                     ความรุนแรงอยู่  นั่นเป็นเหตุผลที่ยังต้องมีโทษประหารชีวิตอยู่  นอกจากนี้  คุณภาพประชากร
                     ของประเทศไทยก็มีความแตกต่างกันกับประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว  หากจะยกเลิก

                     โทษประหารชีวิตจำาเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของประชาชนก่อน










                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 143
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161