Page 149 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 149
ไม่มีประโยชน์ หรือช่วยให้ปัญหาอาชญากรรมลดลง ทำาให้ในขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำานวน
๑๓๙ ประเทศ ยกเลิกการลงโทษประหารแล้ว มีเพียง ๕๙ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ที่ยังคง
มีโทษประหารชีวิตอยู่ นอกจากนี้ ยังเป็น ๑ ใน ๒๕ ประเทศที่มีการลงโทษประหารจริงภายในปี
ที่ผ่านมา โดยประเทศไทยได้ลงโทษประหารชีวิตนักโทษในคดีค้ายาเสพติดไป ๒ ราย
เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒ ทำาให้ไทยถูกจับตามองว่าก้าวถอยหลัง หลังจากไม่มีการประหารชีวิต
นักโทษมานานกว่า ๖ ปี โดยเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๒ ได้มีการฉีดยาเพื่อประหารชีวิต
นักโทษชาย ๒ คน ที่เรือนจำากลางบางขวาง กรุงเทพฯ นับเป็นโทษประหารชีวิต ๒ รายแรก
หลังจากที่ประเทศไทยไม่ได้ใช้โทษประหารมาเป็นระยะเวลา ๖ ปี ทำาให้ประเทศไทยถูกจับตามองว่า
ก้าวถอยหลัง เพราะใช้บทลงโทษที่ละเมิดสิทธิในการมีชีวิตอยู่ของบุคคล ซึ่งทุกคนมีศักดิ์ศรี
ในความเป็นมนุษย์ เมื่อมองในฐานะอาชญาสิทธิ์ คือ คนที่ทำาผิดต้องได้รับการลงโทษ แต่โทษ
ที่ลงนั้นต้องสมดุลกับความผิดที่ได้กระทำา ขณะที่ในด้านของนักรัฐศาสตร์เห็นว่า หากจะให้
บ้านเมืองสงบต้องมีกติกา สำาหรับโทษประหารชีวิตเป็นโทษที่รุนแรง แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับ
ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมด้วย แม้ปัจจุบันประเทศไทยได้มีประหารชีวิตโดยการ
ใช้วิธีฉีดสารพิษ อันเป็นวิธีที่นุ่มนวลที่สุด แต่ทั้งนี้ โทษบางอย่างหากลดจากการประหารชีวิต
ต้องหาคำาตอบให้ได้โดยเฉพาะต่อสังคมไทย โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง หากปรับโทษ
ต้องคิดให้รอบคอบ ทำาให้เกิดข้อคิดเห็นและเกิดคำาถามว่าประเทศไทยควรจะยุติการลงโทษ
ด้วยการประหารชีวิตหรือไม่
นอกจากนี้ ปัจจุบันสังคมไทยมีบทลงโทษประหารชีวิตในหลายฐานความผิด อาทิ ฆาตกรรม
ค้ายาเสพติด ซึ่งหากมองในแง่ของวัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทย โทษประหารชีวิตอาจจะ
ยังควรมีอยู่ เพราะเชื่อว่าจะทำาให้ผู้ที่จะกระทำาความผิดเกิดความกลัวเกรง หรือเป็นการข่มขู่
ยับยั้ง แต่ในทางปฏิบัติไม่ควรจะนำามาใช้ ยกเว้นคดีฆาตกรรมที่มีเจตนาชัดแจ้ง ซึ่งเป็น
คดีอุกฉกรรจ์ที่มีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก หรือมีการกระทำาความผิดซ้ำาแล้วซ้ำาอีก จนเชื่อว่า
การจำาคุกไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่ในหลายประเทศยังคงมีโทษประหาร
อย่างไรก็ตาม ที่น่าจะมีการทบทวน คือ การลงโทษประหารกับผู้กระทำาผิดในคดีค้ายาเสพติด
เพราะเป็นเรื่องในเชิงสังคม และในสายตาของชาวต่างชาติก็ไม่ยอมรับ
อย่างไรก็ตาม ถ้ากระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ โทษประหารชีวิตก็ไม่จำาเป็น
เพราะคนจะไม่เสี่ยงทำาผิด ถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่มีประสิทธิภาพ แม้จะมีโทษประหารชีวิต
คนก็ไม่เกรงกลัวโทษและกล้าเสี่ยงทำาผิด ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมขึ้นอยู่กับระบบ
และตัวบุคคล แต่ประเทศไทยมีจุดอ่อนทั้งสองประการ ดังนั้น หากมีการทำาให้กระบวนการยุติธรรม
มีประสิทธิภาพทั้งในระบบและตัวบุคคลได้อย่างแท้จริง โทษประหารชีวิตจะไม่มีความจำาเป็นต้องใช้
ในการลงโทษผู้กระทำาผิดในประเทศไทยอย่างแน่นอน
แม้ความเห็นของคนส่วนหนึ่งในประเทศไทยเห็นว่ายังควรให้มีโทษประหารชีวิตอยู่
เพื่อยับยั้งให้คนเกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำาความผิด แต่เมื่อมีหลักฐานทางวิชาการ
136 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ