Page 157 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 157

พลเอก  สุรินทร์  พิกุลทอง  ประธ�นกรรมก�รสถ�บันพัฒน�องค์กรชุมชน  (พอช.)
                  กล่าวว่า สาเหตุที่มีอาชญากรรมเพราะประชาชนไม่ได้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครอง

                  ที่ต้องทำาให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข  ไม่ใช่ไปสร้างคุก  ซึ่งประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุขได้ก็ต่อเมื่อ

                  มีรัฐบาลที่เป็นธรรม  สุดท้ายประเทศไทยย่อมจำาเป็นต้องยกเลิกโทษประหารชีวิต  และการลงโทษ
                  ให้จำาคุกระยะยาวก็เปรียบเหมือนการตายไปแล้วหลายครั้ง  ตายซ้ำาแล้วซ้ำาอีก  อย่างไรก็ดี
                  การเปลี่ยนแปลงจะต้องเตรียมความพร้อมให้พอสมควร  ตราบที่รัฐบาลยังเป็นอย่างนี้  สังคม

                  เสื่อมโทรม คุณธรรมเสื่อมถอย ฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างไม่เกรงกลัว เมื่อเป็นแบบนี้ กระบวนการ

                  ยุติธรรมต้องเข้มงวดกวดขันให้มากยิ่งขึ้น  และตรงไปตรงมายิ่งขึ้น  แต่ปัญหาในบ้านเรายังมีอยู่
                  ซึ่งการยกเลิกโทษประหารชีวิตขณะที่กระบวนการยุติธรรมยังเป็นแบบนี้คงเป็นปัญหา  ยังเป็นไป
                  ไม่ได้ในวันนี้เพราะจะยิ่งสร้างความช้ำาใจให้กับเหยื่อ แต่ถ้าจะไม่แก้ไขเลยคงไม่ได้



                           ผู้ช่วยศ�สตร�จ�รย์ศรุต  จุ๋ยมณี  คณะนิติศ�สตร์  มห�วิทย�ลัยทักษิณ  เห็นว่า
                  โทษประหารชีวิตมีข้อดี  คือ  ช่วยกำาจัดคนที่เป็นภัยต่อสังคม  และถือเป็นการปรามอย่างหนึ่ง
                  หากจะยกเลิกโทษดังกล่าวจำาเป็นต้องดูปัจจัยทางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมด้วยว่า  มีความ

                  พร้อมขนาดไหน และพิจารณาคุณภาพของกระบวนการยุติธรรมและบุคลากรผู้บังคับใช้กฎหมายด้วย

                           “โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่ไม่ใช่ยกเลิกในเวลานี้”
                  ผศ.ศรุต  กล่าวว่า  หากจะยกเลิกโทษประหารชีวิตก็ควรมีมาตรการที่เข้ามาทดแทนและ
                  ต้องพิจารณาว่ามาตรการนั้นดีเพียงพอแล้วหรือยัง  มาตรการที่ทดแทน  เช่น  การให้ลงโทษ

                  จำาคุกตลอดชีวิตแทน  โดยเป็นการลงโทษจำาคุกตลอดชีวิตอย่างเคร่งครัด  โดยไม่มีการลดโทษ

                  และอภัยโทษ  หรือการให้ตอนผู้กระทำาผิดเพื่อไม่ให้มีการถ่ายทอดพันธุกรรม  เป็นต้น  นอกจากนี้
                  การยกเลิกโทษประหารชีวิตอาจเป็นไปตามหลักสากล  แต่เมืองไทยยังไม่พร้อม  หากจะยกเลิก
                  โทษประหารชีวิต  ก็ควรยังคงข้อกฎหมายไว้  แต่ปรับที่ทางปฏิบัติไปก่อน  เช่น  กำาหนดเงื่อนไข

                  ห้ามลงโทษประหารชีวิตคนที่อายุต่ำากว่าที่กำาหนดและหญิงตั้งครรภ์


                           น�ยดุสิต  จันทร์สถิต  ผู้อำ�นวยก�รกองนิติก�ร  กรมร�ชทัณฑ์  กล่าวถึงตัวอย่างว่า
                  มีคดีที่เกี่ยวพันกับผู้มีอิทธิพลไม่น้อย ทำาให้มีความเห็นว่ายังควรให้คงโทษประหารชีวิตไว้ เพียงแต่

                  มีเงื่อนไข เช่น กำาหนดให้คงโทษประหารชีวิตไว้เฉพาะสำาหรับคดียาเสพติด รวมทั้งเห็นว่านักโทษ

                  บางคนสักยันต์เต็มตัว หากปล่อยออกมาคงเป็นอันตรายต่อสังคม

                           น�ยสันติ  ล�ตีฟี  กลุ่มง�นพันธกรณีและม�ตรฐ�นสิทธิมนุษยชนระหว่�งประเทศ

                  สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ  ได้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมว่า  ท่าทีของ

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหลักการปารีส








       144     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162