Page 159 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 159

นอกจากนี้ ควรมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตในสังคมไทย เนื่องจากแนวโน้มทั่วโลก
                  เริ่มเปลี่ยนจากทฤษฎีการลงโทษเพื่อการแก้แค้น มาเป็นการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู ควรมีการยกเลิก

                  โทษประหารชีวิตเพราะโทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิการมีชีวิต บ่อยครั้งมักเกิดขึ้นหลังจาก

                  การไต่สวนที่ไม่เป็นธรรม  บ่อยครั้งมาจากคำาให้การที่ได้มาจากการข่มขู่ทรมาน  รวมทั้งยังพบว่า
                  กระบวนการยุติธรรมยังมีความเสี่ยงในการตัดสินที่ผิดพลาด  ส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์จำานวนมากทั่วโลก
                  ถูกจองจำา นอกจากนี้ งานวิจัยหลายฉบับชี้ตรงกันว่า เหยื่อของโทษประหารชีวิตมักเป็นคนยากจน

                  และกลุ่มเปราะบางในสังคม  และที่สำาคัญคือ  พบว่าโทษประหารชีวิตไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการลด

                  อาชญากรรม
                           ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
                  แม้จะมีอาชญากรรมที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น  และประชาชนในสังคมส่วนหนึ่งต้องการให้มี

                  การหันกลับมาใช้โทษประหารชีวิต  แต่ประเทศพัฒนาดังกล่าวกลับไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิต

                  เพราะชีวิตคนมีคุณค่าและเป็นประเด็นที่เห็นตรงกันทั่วโลก  ตัวอย่างกรณีที่นอร์เวย์ที่ผู้กระทำาผิด
                  ได้สังหารผู้บริสุทธิ์หลายศพ  โดยผู้กระทำาผิดได้ยอมรับสารภาพ  หากแต่มีความคิดของประชาชน
                  ในสังคมส่วนหนึ่งที่ต้องการให้นำาโทษประหารชีวิตซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้ใหม่  แต่ศาล

                  นอร์เวย์ก็ยังยืนยันให้ลงโทษขั้นสูงสุดตามกฎหมาย  คือ  โทษจำาคุก  ๒๑  ปี  หากแต่ประเด็น

                  ที่น่าสนใจ  คือ  ในคำาพิพากษาซึ่งกำาหนดเงื่อนไขว่า  หากครบกำาหนดลงโทษจำาคุก  ๒๑  ปีแล้ว
                  ยังพบว่าผู้กระทำาผิดมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง  ก็ยังลงโทษจำาคุกต่อได้  ซึ่งหากประเทศไทยมีการคุมขัง
                  ผู้กระทำาผิดไว้เป็นระยะเวลานาน  หรือการจำาคุกตลอดชีวิต  โดยไม่มีการทบทวนพฤติกรรม

                  ในการกระทำาผิดเลย  จะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้กระทำาผิดเช่นเดียวกับการใช้

                  โทษประหารชีวิต  อย่างไรก็ตาม  แม้จะเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ
                  จึงควรให้คงโทษประหารชีวิตไว้  แต่สังคมอื่นที่กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพมากกว่า
                  มีการกลั่นกรองคดีมากกว่า  เมื่อมีการฟ้องคดีจะต้องมีพยานหลักฐานหนักแน่นพอสมควรศาล

                  จึงจะพิพากษาลงโทษ ยังยกเลิกโทษประหารชีวิต ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีการทบทวนในเรื่อง

                  การใช้โทษประหารชีวิต  โดยมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต  เพื่อทำาให้กระบวนการยุติธรรม
                  ของประเทศไทยมีการพัฒนาเทียบเท่านานาอารยะประเทศและเป็นไปตามมาตรฐานสากล



                           - ควรมีก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต ห�กแต่มีก�รใช้โทษจำ�คุกที่มีระยะเวล�น�นแทน

                           ควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  หากแต่ควรมีการนำาโทษจำาคุกที่มีระยะเวลานาน
                  โดยไม่ได้รับการลดโทษมาใช้แทน เนื่องจากคดีจำานวนหนึ่งซึ่งได้รับการตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม หาก
                  ได้รับโทษประหารชีวิตไปแล้วจะขอคืนความเป็นธรรมอย่างไร เมื่อผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิตไปแล้ว

                  ใครจะรู้ว่าบุคคลดังกล่าวไม่ได้ทำา  จึงควรจะเปลี่ยนจากโทษประหารชีวิตมาเป็นการลงโทษจำาคุก

                  ระยะยาว เช่น ๒๐-๒๕ ปี แทน โดยผู้กระทำาผิดไม่ได้รับการลดโทษจากการจำาคุก จะทำาให้เป็น
                  การลงโทษผู้กระทำาผิดที่สาสมกับความผิด  และเป็นการให้โอกาสผู้กระทำาผิดได้มีการแก้ไขฟื้นฟู






       146     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164