Page 158 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 158
ควรนำาพาประเทศไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งในชั้นนี้ขอเสนอแนวทางต่าง ๆ เพื่อนำาไปสู่
การยกเลิกโทษประหารชีวิต ดังนี้
๑) ระหว่างที่ประเทศไทยยังมีโทษประหารชีวิตอยู่นั้น ต้องใช้โทษประหารชีวิต
กับความผิดบางประเภทไปก่อน ทั้งนี้ ในเอกสารคำาวินิจฉัยของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
(ซึ่งเป็นคณะกรรมการประจำา ICCPR) หมายเลข ๖ เรื่อง สิทธิในการมีชีวิต เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน
ค.ศ. ๑๙๘๒ ระบุว่า รัฐภาคีไม่จำาเป็นต้องยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยสิ้นเชิง เพียงแต่รัฐภาคี
ต้องจำากัดการใช้อย่างที่สุด รวมถึงต้องใช้โทษดังกล่าวกับกรณีคดีอุกฉกรรจ์เท่านั้น (the most
serious crimes) ในชั้นนี้จึงเห็นว่า ประเทศไทยควรหาฉันทามติร่วมกัน เกี่ยวกับคำาว่า
“คดีอุกฉกรรจ์” โดยควรพิจารณาว่าคดีการทำาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าข่ายเป็นคดีอุกฉกรรจ์
หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถชี้แจงประชาคมระหว่างประเทศได้ว่า เพราะเหตุใด
จึงยังมีและบังคับให้ใช้โทษประหารชีวิตในประเทศไทย
๒) เมื่อสามารถหามาตรการอื่นมาทดแทนโทษประหารชีวิตได้แล้ว กสม. อาจพิจารณา
รณรงค์ให้รัฐบาลประกาศพักใช้โทษประหารชีวิต (moratorium) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาคม
ระหว่างประเทศว่าประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยสิ้นเชิงในโอกาสต่อไป
๓) ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศพักใช้โทษประหารชีวิตแล้ว กสม. อาจพิจารณา
nd
รณรงค์ให้รัฐบาลเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับรองของ ICCPR ฉบับที่ ๒) (2 Optional Protocol
to the ICCPR) ซึ่งบัญญัติเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ ก่อนที่
ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีพิธีสารฯ จักต้องปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อให้สอดคล้องกับพิธีสารฯ
แนวทางดังกล่าวจะนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยสิ้นเชิง แต่อาจต้องใช้เวลาในการ
ดำาเนินการเพื่อรณรงค์ให้ประเทศไทยยกเลิกโทษประหารชิวิตต่อไป
สำาหรับความคิดเห็นต่อการใช้โทษประหารชีวิตในประเทศไทยของผู้เข้าร่วมการเสวนา
สามารถจำาแนกได้ ดังนี้
- ควรมีก�รยกเลิกโทษประห�รชีวิต
สำาหรับผู้ที่เห็นว่าควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย เนื่องจากให้เหตุผลว่า
ผู้ที่เห็นว่ารัฐยังควรคงโทษประหารชีวิตไว้เพราะเชื่อว่าจะช่วยควบคุมอาชญากรรมได้ แต่เมื่อดู
จากหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรปก็พบว่าไม่เป็นความจริง แต่การบังคับใช้กฎหมาย
อย่างเที่ยงตรง เป็นธรรม และประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแลสังคมต่างหากที่จะช่วยลด
อาชญากรรมได้การคงโทษประหารชีวิตไว้ก็คือการคงความรุนแรงเอาไว้ในสังคม ซึ่งถ้าในสังคมหนึ่ง
ยังยอมรับความรุนแรงต่อชีวิตก็แน่นอนว่าจะยอมรับความรุนแรงต่อชีวิตในรูปแบบอื่น ๆ และจะ
เป็นการยากที่จะไปห้ามความรุนแรงในมิติต่าง ๆ
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 145