Page 155 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 155
ใครจะรู้ว่าเขาไม่ได้ทำาผิด โดยควรจะเปลี่ยนจากโทษประหารชีวิตมาเป็นการลงโทษจำาคุกระยะยาว
เช่น ๒๐-๒๕ ปี แทน มักมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ถามว่า หากไม่ประหารชีวิตแล้วจะเอางบประมาณ
ที่ไหนมาทางเลือกหนึ่ง คือ ให้ปล่อยนักโทษที่จำาคุกมาแล้วสองในสามของโทษ ไปบำาเพ็ญ
ประโยชน์แทน หากใช้วิธีนี้ก็จะสามารถลดจำานวนนักโทษได้ราว ๔๐,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ คน
น�งส�วพูนสุข พูนสุขเจริญ ทน�ยคว�มเครือข่�ยนักกฎหม�ยสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า
เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต เพราะชีวิตคนมีคุณค่า และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าจะเห็นตรงกัน
ทั่วโลก โดยมนุษย์อาจดูถูกมนุษย์ด้วยกันเองว่าไม่สามารถพัฒนาได้ แต่มีตัวอย่างกรณีที่นอร์เวย์
ที่นักโทษสังหารหลายศพ ฆาตกรยอมรับสารภาพและมีความคิดของสังคมส่วนหนึ่งที่อยากให้
นำาโทษประหารชีวิตซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ แต่ศาลนอร์เวย์ก็ยังยืนยันให้ลงโทษขั้นสูงสุด
ตามกฎหมาย คือ โทษจำาคุก ๒๑ ปี ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ในตัวคำาพิพากษาซึ่งกำาหนดเงื่อนไขว่า
หากครบกำาหนดลงโทษจำาคุก ๒๑ ปีแล้วยังพบว่ามีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง ก็ยังลงโทษจำาคุกต่อได้
กระบวนการยุติธรรมไทยสมควรหรือไม่ที่จะขังบุคคลหนึ่งไปเป็นระยะเวลานานหรือกระทั่ง
ตลอดชีวิต โดยไม่ต้องมีการทบทวนเลย ซึ่งหลายคนเห็นว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยยังไม่มี
ประสิทธิภาพ จึงควรให้คงโทษประหารชีวิตไว้ แต่สังคมอื่นที่กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ
มากกว่า มีการกลั่นกรองคดีมากกว่า มีพยานหลักฐานในการฟ้องคดีที่หนักแน่น ยังยกเลิก
โทษประหารชีวิต จึงเป็นมุมมองที่สังคมไทยควรจะปรับเปลี่ยนมุมมอง
น�งส�วพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผส�นวัฒนธรรม เสนอว่าประเทศไทยควรยกเลิก
โทษประหารชีวิต ให้เหลือโทษจำาคุก แต่ทั้งนี้ก็ควรกำาหนดเงื่อนไขบางอย่างกำากับ เช่น กำาหนดว่า
มีระยะเวลาหนึ่งที่ไม่สามารถลดโทษได้ เพราะกระบวนการแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนั้นไม่มีความโปร่งใส
คนที่มีโอกาสมากกว่าบุคคลอื่น ๆ หรือมีเส้นสายจึงจะได้รับการลดโทษ
น�ยเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ ทน�ยคว�ม และผู้ทรงคุณวุฒิด้�นกฎหม�ยและกระบวนก�ร
ยุติธรรมของคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ เห็นว่า แม้ที่ประชุมค่อนข้างโน้มเอียงไปทาง
ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่เราจำาเป็นต้องคำานึงถึงความรู้สึกของผู้เสียหายและคนที่ถูกทำาร้ายด้วย
ตนเองในฐานะทนายความก็เคยเกลี้ยกล่อมจำาเลยที่อาจต้องโทษประหารชีวิตว่าให้รับสารภาพ
ซึ่งศาลก็ลงโทษเหลือจำาคุกตลอดชีวิตแทน
“ผมก็ยังเห็นว่าโทษประหารชีวิตมีความจำาเป็น และโทษประหารชีวิตยังสามารถขออภัยโทษ
ให้เหลือจำาคุกตลอดชีวิตได้ สิ่งเหล่านี้บ้านเรายังมีผ่อนหนักผ่อนเบาได้”
โอกาสที่อาชญากรโดยสันดานจะเลิกทำาผิดนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีโทษประหารชีวิต
อาชญากรรมต้องสูงขึ้นแน่นอน
142 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ