Page 151 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 151

ซึ่งถ้าหากสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้  การใช้โทษประหารชีวิตจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความสำาคัญ
                  ต่อสังคมไทยแต่ประการใด  หากแต่เนื่องจากประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาอาชญากรรม

                  ที่ทวีความรุนแรง  จึงเป็นสิ่งที่ทำาให้ประชาชนในสังคมส่วนหนึ่งต้องการให้คงโทษประหารชีวิตไว้

                  เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจต่อความปลอดภัยให้แก่สังคม ดังนั้น หากจะมีการยกเลิกโทษประหาร
                  ชีวิตในสังคมไทยจำาเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วย
                           จากผลการเสวนา เรื่อง “โทษประหารชีวิต...สังคมไทยคิดอย่างไร” จึงสามารถสรุปได้ว่า

                  สังคมไทยส่วนหนึ่งยังคงไม่เห็นด้วยว่าควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทย

                  ยังคงเผชิญกับปัญหาอาชญากรรมที่ทวีความรุนแรงและมีจำานวนมากขึ้น  การมีโทษประหารชีวิต
                  เพื่อเป็นการป้องปราม  หรือข่มขู่ยับยั้งต่อผู้ที่คิดจะกระทำาผิด  และเป็นการแก้แค้นทดแทนให้แก่
                  เหยื่ออาชญากรรมที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรม

                           ในขณะที่คนในสังคมไทยอีกส่วนหนึ่งเห็นว่าควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  เนื่องจาก

                  เป็นบทลงโทษที่ไม่เคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นการ
                  ลงโทษที่ขัดต่อหลักพระพุทธศาสนา  เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ
                  ศาสนาพุทธ การลงโทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดศีลข้อที่ ๑ ที่กำาหนดไม่ให้มีการฆ่าสัตว์ และการ

                  ลงโทษด้วยการประหารชีวิตไม่ได้มีผลทำาให้อาชญากรรมลดลงแต่ประการใด หากแต่เป็นสิ่งที่แสดง

                  ให้เห็นถึงการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และการปฏิบัติของกระบวนการ
                  ยุติธรรมเทียบเท่านานาอารยะประเทศ ซึ่งประเทศโดยส่วนใหญ่ได้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต
                  ดังนั้น  จึงควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย  ซึ่งหากมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                  จะต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในสังคมไทย  ให้มีความเชื่อมั่นว่าการยกเลิกโทษ

                  ประหารชีวิตไม่ได้มีผลต่ออาชญากรรมที่เพิ่มจำานวนมากขึ้น ตลอดจนการหามาตรการในการลงโทษ
                  ผู้กระทำาผิดที่มีความเหมาะสม  อาทิ  การลงโทษจำาคุกตลอดชีวิตโดยไม่ได้รับการลดโทษแทน
                  หากแต่จะต้องมีมาตรการในการสร้างเรือนจำาที่มีความมั่นคง  และมีจำานวนเจ้าหน้าที่เรือนจำา

                  ที่เพียงพอ  และประการสุดท้าย  คือ  การสร้างการปฏิบัติงานของกระบวนการยุติธรรม

                  ทั้งในระบบและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ  สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
                  ได้อย่างแท้จริง  จะทำาให้คนในสังคมยอมรับต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตและทำาให้
                  กระบวนการยุติธรรมของไทยสามารถพัฒนา  หรือยกระดับตามมาตรฐานสากลได้อย่างแท้จริง

                  ซึ่งการเตรียมความพร้อมต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตในสังคมไทยเป็นสิ่งที่มีความจำาเป็น

                  เพราะหากมีการเตรียมความพร้อมและดำาเนินการต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตตามขั้นตอน
                  จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในสังคม  และทำาให้ประชาชนในสังคมให้การยอมรับ
                  ต่อการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต  และทำาให้ประเทศไทยสามารถยกระดับกระบวนการ

                  ยุติธรรมและมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดขึ้นสู่มาตรฐานสากลและเทียบเท่าอารยะประเทศ

                  โดยไม่ปัญหาแต่ประการใด








      138      คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156