Page 152 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 152

๓.๒  ก�รเสวน� เรื่อง “โทษประห�รชีวิต” เมื่อวันที่ ๒๑ กันย�ยน
                            ๒๕๕๕ โดย คณะอนุกรรมก�รปฏิบัติก�รยุทธศ�สตร์ด้�นสิทธิ

                            ในกระบวนก�รยุติธรรม ในคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ



                             ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต จำานวน ๑๔๐ ประเทศ ขณะเดียวกัน

                     ยังมี  ๕๘  ประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่  ซึ่งในประเทศเหล่านี้เพียงไม่ถึงครึ่งที่นำา

                     โทษประหารชีวิตมาใช้จริง ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเอเชียและตะวันออกกลาง และหนึ่งในนั้น
                     คือ  ประเทศไทย  ซึ่งในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนี่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
                     ต้องพิจารณาถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๕ ที่กล่าวว่า

                             “บุคคลใดจะถูกทรมาน  หรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหดร้าย

                     ไร้มนุษยธรรม ย่ำายีศักดิ์ศรีไม่ได้”
                     และพิธีสารเลือกรับ  ฉบับที่  ๒  แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                     ทางการเมือง  ที่มุ่งหมายที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิต  โดยเชื่อว่าการยกเลิกโทษประหารชีวิต

                     มีส่วนส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ไม่มีบุคคลที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของภาคี

                     ในพิธีสารฉบับนี้จะถูกประหารชีวิตได้
                             ดังนั้น โทษประหารชีวิตจึงเป็นการลงโทษที่ปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำาเป็นที่สุด
                     สำาหรับบุคคล  นั่นคือ  “สิทธิในการมีชีวิต”  ซึ่งได้รับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                     สำาหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔ วางหลักว่า

                     “ศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”
                     และในมาตรา ๓๒ ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
                             นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียน ปรากฏว่ามี ๒ ประเทศ

                     ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว  ได้แก่  กัมพูชา  และฟิลิปปินส์  หากแต่ประเทศไทยยังมี

                     การประหารชีวิต  แม้จะมีการเปลี่ยนจากการยิงเป้ามาเป็นการฉีดสารพิษ  แต่ประเทศไทย
                     จะต้องพิจารณาว่าควรที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตหรือไม่  หรือควรปรับปรุงประสิทธิภาพ
                     ของกระบวนการยุติธรรมหรือไม่  อย่างไร  เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลที่ขอให้ยกเลิก

                     โทษประหารชีวิตเป็นจำาคุกตลอดชีวิต หรือวิธีการที่เหมาะสมแทนการลงโทษประหารชีวิต

                             การเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพิจารณาเรื่องการใช้
                     โทษประหารชีวิตในสังคมไทย  ควรมีการดำาเนินการอย่างไรต่อแนวทางที่ว่า  ควรยกเลิก
                     โทษประหารชีวิต  โดยเปลี่ยนเป็นจำาคุกตลอดชีวิต  หรือการคงโทษประหารชีวิตไว้ใช้กับความผิด

                     บางประเภท หรือการคงโทษประหารชีวิตไว้ แต่ไม่นำามาใช้จริง หรือการคงโทษประหารชีวิต











                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 139
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157