Page 150 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 150
สนับสนุนว่าโทษประหารไม่สามารถยับยั้งการกระทำาความผิดได้ หากมีวิธีการลงโทษ
ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับผู้กระทำาความผิด สังคมก็จะยอมรับในส่วนนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศ
สิงคโปร์ที่มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิต แต่คดียาเสพติดยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ
ประเทศไทย ที่ศาลตัดสินประหารชีวิตคดีฆ่าแหม่มที่จังหวัดระยอง แต่ผ่านไปไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุ
ลักษณะเดียวกันอีก นอกจากนี้ ผลการวิจัยคดียังระบุว่า “โทษ” จะมีผลทำาให้คนเกรงกลัวได้
ต้องประกอบด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ มีความแน่นอนและรวดเร็วในการหาตัว
ผู้กระทำาผิดมาลงโทษร่วมกับการขจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นเงื่อนไขนำาไปสู่การก่ออาชญากรรม
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำาผิดที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นการพัฒนา
กระบวนการยุติธรรมดังเช่นนานาอารยประเทศ จึงควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
หากประเทศไทยมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ย่อมต้องมีมาตรการอื่นที่สังคมเห็นว่าดีกว่า
เข้ามาทดแทน เพราะคนในสังคมไทยส่วนหนึ่งยังคงเชื่อมั่นในโทษประหาร การจะยกเลิกจำาเป็น
ต้องมีมาตรการเพื่อเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของสังคม โดยอาจมีการเปลี่ยนโทษประหารให้เป็น
โทษจำาคุกตลอดชีวิต เนื่องจากคนที่เคยติดคุกเป็นระยะเวลานาน เมื่อพ้นโทษมาแล้วมักจะไม่ทำาผิด
ซ้ำาอีก รวมทั้งเงื่อนไขหนึ่งที่สำาคัญที่อาจจะต้องนำามาพิจารณาควบคู่กับการยกเลิกโทษประหารชีวิต
คือ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ เพราะจากงานวิจัยต่าง ๆ
ได้ข้อสรุปว่า การมีโทษประหารชีวิตในสังคมไม่ได้ทำาให้อาชญากรรมในสังคมลดลง โดยอาชญากรรม
จะลดลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงระบบ
การปฏิบัติงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อเป็นการรองรับการยกเลิก
โทษประหาร กระบวนการยุติธรรมจำาเป็นต้องมีเรือนจำาที่มีประสิทธิภาพ มีความแข็งแรงเพื่อรองรับ
นักโทษ และมีเจ้าหน้าที่ที่เพียงพอต่อการดูแล เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีนักโทษที่มีกำาหนด
โทษสูงจำานวนมาก เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคมต่อการยกเลิกโทษประหาร
สำาหรับแนวทางในการยกเลิกโทษประหารชีวิต จะต้องมีแนวทางในการดำาเนินงานควบคู่
ไปด้วย ดังนี้
• จะต้องมีเรือนจำาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมผู้กระทำาผิดที่ต้องโทษจำาคุก
โดยไม่มีทางออก เนื่องจากการคุมขังนักโทษเด็ดขาดที่ไม่มีโอกาสได้ลดหย่อน
ผ่อนโทษออกจากเรือนจำา เปรียบเสมือนการเอาระเบิดเวลาไปไว้ในเรือนจำานั้นเอง
• หากจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต จะต้องมีการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
ในสังคม
เพราะการใช้โทษประหารชีวิตทุกวันนี้เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ปลายเหตุ คือ
การใช้โทษประหารชีวิตเพื่อเป็นการตัดโอกาสในการกระทำาผิด และการข่มขู่ ยับยั้งผู้ที่
คิดจะกระทำาผิดในสังคม แต่ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาอาชญากรรมที่มีความรุนแรง
และมีจำานวนมาก จึงมีความจำาเป็นต้องป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไม่ให้เกิดขึ้น
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 137