Page 153 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 153

ผลการเสวนาสรุปได้ว่า
                           พลตำ�รวจเอก  วันชัย  ศรีนวลนัด  กรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ  และ

                  ประธ�นอนุกรรมก�รปฏิบัติก�รยุทธศ�สตร์ด้�นสิทธิในกระบวนก�รยุติธรรม  กล่าวถึง

                  ประวัติศาสตร์วิธีการลงโทษประหารชีวิตว่า  เดิมเคยมีทั้งวิธีการขว้างปาด้วยก้อนหิน
                  แขวนคอตายบนม้า  ตัดศีรษะ  เข้าห้องรมแก๊สให้เสียชีวิต  ให้นั่งเก้าอี้ไฟฟ้า  ยิงเป้าด้วยปืน
                  และวิธีล่าสุด  คือ  ฉีดสารพิษเข้าร่างกายให้เสียชีวิตจากประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่าวิธีการ

                  ลงโทษประหารชีวิตเริ่มตั้งแต่วิธีการที่รุนแรงไปสู่วิธีการที่มีมนุษยธรรม  หากแต่ปัจจุบันแนวทาง

                  ปฏิบัติต่อโทษประหารชีวิตควรมีแนวทาง ดังนี้
                           แนวทางที่หนึ่ง ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต เปลี่ยนเป็นจำาคุกตลอดชีวิต
                           แนวทางที่สอง คงโทษประหารชีวิตไว้ กำาหนดให้ใช้กับความผิดเฉพาะบางประเภท

                           แนวทางที่สาม คงโทษประหารชีวิตไว้ แต่กำาหนดไว้เป็นนโยบายว่าจะไม่นำามาใช้จริง

                           แนวทางที่สี่  คงโทษประหารชีวิตและแนวทางปฏิบัติเอาไว้เช่นเดิม
                           พลตำารวจเอก  วันชัย  ศรีนวลนัด  กล่าวว่า  เนื่องจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติเคยจัดเวทีเรื่องโทษประหารชีวิตแล้วหนึ่งครั้ง เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จึงประมวล

                  ข้อเสนอที่มีหลายฝ่ายเสนอแนะไว้  เช่น  ศาสตราจารย์  ดร.คณิต  ณ  นคร  ที่กล่าวในครั้งนั้นว่า

                  ถ้ากระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ  โทษประหารชีวิตก็ไม่จำาเป็น  เพราะคนจะไม่เสี่ยงทำาผิด
                  ถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่มีประสิทธิภาพ  แม้จะมีโทษประหารชีวิต  คนก็ไม่เกรงกลัวโทษ
                  และกล้าเสี่ยงทำาผิด  ทั้งนี้  ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมขึ้นอยู่กับระบบและตัวบุคคล

                  แต่ประเทศไทยมีจุดอ่อนทั้งสองประการ

                           ขณะที่นายนัทธี จิตสว่าง อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เคยกล่าวไว้ในการเสวนา เมื่อปี ๒๕๕๒
                  ว่าถ้าเลิกโทษประหารชีวิต ย่อมต้องมีมาตรการอื่นที่สังคมเห็นว่าดีกว่าเข้ามาทดแทน และสังคมไทย
                  ส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นในโทษประหาร การจะยกเลิกจำาเป็นต้องมีมาตรการเพื่อเปลี่ยนแปลงความรู้สึก

                  ของสังคม ทั้งนี้ นายนัทธี จิตสว่าง ในฐานะอดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์สะท้อนประสบการณ์ไว้ด้วยว่า

                  คนที่เคยติดคุกนานๆ เมื่อพ้นโทษมาแล้วมักจะไม่ทำาผิดซ้ำาอีก
                           นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                  เคยกล่าวไว้ว่า  การจะมีโทษประหารชีวิตต่อไปหรือไม่นั้นต้องเป็นความเห็นร่วมกันของปวงชน

                  ชาวไทย ทั้งนี้ ไม่เคยมีสถิติหรือผลวิจัยว่า คนกลัวโทษประหารชีวิตแล้วจึงไม่ทำาผิด



                           นอกจากนี้ ในการเสวนา ดังกล่าว ผู้เข้าร่วมการเสวนามีความเห็นที่หลากหลายต่อการใช้
                  โทษประหารชีวิต ดังนี้




                           น�ยสมช�ย หอมลออ ประธ�นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวถึง
                  ผลจากการสำารวจที่พบว่า  ผู้ที่เห็นว่ารัฐยังควรคงโทษประหารชีวิตไว้เพราะเชื่อว่าจะช่วยควบคุม






       140     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158