Page 148 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 148
คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้กระแสของโลกซึ่งปัจจุบันมีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้มีถึง ๑๓๙ ประเทศแล้ว เพราะเห็นว่าไม่มีประโยชน์ในการคงโทษประหารชีวิตไว้
ซึ่งจากผลการสำารวจพบว่าในประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วส่วนใหญ่ ปัญหาอาชญากรรม
ไม่ได้มากกว่าประเทศที่มีโทษประหารชีวิต
เรื่องสุดท้ายการยกเลิกโทษประหารชีวิตมีผลดีมากกว่า เพราะจะทำาให้เกิดความรุนแรง
น้อยลงในสังคม คนไทยชอบคิดว่าประหารชีวิตแค่ ๒ คน ในเวลา ๖ ปี ตัวเลขไม่มาก แต่ทว่าสิ่งนี้
เป็นเหตุที่ผู้มีอำานาจจะใช้ข้ออ้างที่จะประหารชีวิตประชาชน การที่เราฆ่าคนอื่นไม่ได้ช่วยให้มีวัฒนธรรม
ที่จะยกเลิกการใช้ความรุนแรงได้ในทันที
น�งส�วสมศรี ห�ญอนันทสุข กล่าวว่า หลายคนเห็นด้วยกับศาสตราจารย์ ดร.คณิต
ณ นคร ว่านักโทษหรือคนที่กระทำาผิดมักจะ “ไม่ได้กลัวว่าประเภทของโทษเป็นแบบใด แต่กลัว
กระบวนการลงโทษที่มีประสิทธิภาพมากกว่า” ตราบใดที่บุคคลยังมีทางออกที่สามารถจะหลุดรอด
จากการถูกจับหรือถูกลงโทษ บุคคลเหล่านั้นก็จะไม่ได้กลัวเรื่องโทษประหารชีวิตหรือจำาคุกตลอดชีวิต
สังคมเรามีทางเลือกในการลงโทษ เพียงแต่ที่ผ่านมาไม่ได้พยายามที่จะมองทางออกตรงนั้น
และไปให้ถึงจุดหมาย โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธไม่ควรจะเห็นด้วยกับโทษประหารชีวิต
อย่างยิ่งเป็นที่น่าเสียใจผู้แทนไทยที่ผ่านมาไปยกมือที่สหประชาชาติเพื่อค้านการชะลอการลงโทษ
ประหารชีวิต ซึ่งก็เป็นหนึ่งในประเทศจำานวนไม่มากที่ไม่อยากให้ชะลอการลงโทษประหารชีวิต
ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยสนับสนุนโทษประหารชีวิตนั่นเอง
สำาหรับเรื่องการปล่อยคนออกมาจากคุก แล้วมีการกระทำาผิดซ้ำา เรื่องแบบนี้เราคงต้อง
ย้อนไปถึงคำาพูดของ ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ที่กล่าวว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ
ยุติธรรมอยู่ที่ตรงไหน ทำาไมถึงปล่อยให้มีการฆ่าแล้วฆ่าอีก แต่กรณีนี้ คือ กรณีที่จับไม่ได้แล้ว
ไปทำาผิดอีกและคงจะดีมาก ถ้าพวกเราลองมองปัญหานี้ควบไปกับคำาสอนของพระพุทธเจ้าด้วย
อยากจะพูดถึงเรื่ององคุลีมาลเหมือนกันว่า ในทางปฏิบัติ พระพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิบัติหรือคิดประหาร
ทางกายกับใคร หรือจะต้องสังหารใคร มีแต่จะบอกว่าให้อภัย หากพระองค์เห็นด้วยกับการประหาร
ชีวิตคำาสอนของพระพุทธเจ้าในศีลข้อที่ ๑ จะบิดเบี้ยวทันที คือ เรื่องนักโทษร้อยละ ๒๓ ถ้าคิด
เป็นจำานวนคนก็เหลือไม่กี่คน แล้วอีก ๑๑๕ ราย ถึงที่สุดโดนจำาคุก เราอาจจะมองว่าการรักษาชีวิต
คนเหล่านี้ไว้นั้นมันเป็นการใช้งบประมาณมาก แต่จะมากเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับข้อดี ข้อเสีย
ของคุณธรรมที่สูญเสียไปในสังคม
สรุปผลก�รเสวน� : ผู้เข้าร่วมการเสวนาส่วนใหญ่เห็นว่าปัจจุบันการลงโทษประหาร
เป็นเรื่องที่ไม่มีความจำาเป็น เพราะโทษประหารชีวิตอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
รวมทั้งในงานวิจัยทางวิชาการจากหลายประเทศ ทั้งในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา พิสูจน์แล้วว่า
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 135