Page 147 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 147
ของข้อเท็จจริงมีการบังคับใช้โทษน้อยจนเรียกได้ว่าเกือบไม่มี นอกจากนี้ โทษสูงสุดของไทยที่ใช้
ไม่ว่าจะเป็นโทษประหารชีวิต หรือโทษจำาคุกตลอดชีวิต ต้องใช้ในการป้องกันสังคม เพื่อแก้ไขผู้กระทำาผิด
ให้มีความปลอดภัยต่อสังคมแล้วจึงปล่อยออกมาได้
ประเด็นที่สาม คือประเทศไทยใช้โทษประหารชีวิตกับคดียาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็นข้ออ่อน
ที่อาจจะขัดหลักสากล รวมทั้งโทษที่เกี่ยวกับยาเสพติดไม่ได้เป็นโทษที่ร้ายแรง แต่คนไทยอาจจะมี
ความรู้สึกว่าเป็นสิ่งร้ายแรง ในต่างประเทศมองว่าเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดไม่ใช่โทษอุกฉกรรจ์
ควรมีการทบทวนในส่วนนี้
ประเด็นที่สี่ คือ โทษประหารชีวิตจะมีหรือไม่มีก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องทบทวน คือ เรื่องการปฏิรูป
กระบวนการยุติธรรม จะให้ความมั่นใจได้อย่างไรว่า ถ้ามีโทษประหารชีวิตอยู่หรือมีแต่โทษจำาคุก
ตลอดชีวิต คนกระทำาความผิดจะได้รับการลงโทษจริง กระบวนการยุติธรรมเราค้นหาความจริง
ได้แน่นอนเพียงใด มีประสิทธิภาพเพียงใด ถ้ามีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โทษประหารชีวิต
และจำาคุกตลอดชีวิตจะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อจับคนกระทำาความผิดได้และลงโทษได้จริง
ส่วนการใช้โทษประหารชีวิตหรือจำาคุกตลอดชีวิตในยุโรปก็ถือว่าเป็นโทษสูงสุด จะต้องใช้
กับผู้ที่จำาเป็นจริงๆ โดยผู้ที่มีกมลสันดานเป็นอาชญากรอย่างแท้จริง ที่ศาลจะต้องเลือกแล้วว่าคน ๆ
นั้นกระทำาความผิดซ้ำาแล้วซ้ำาอีก จำาคุกแล้วจำาคุกอีก ก็ยังกระทำาความผิดเรื่องนี้ จึงมีความจำาเป็น
ต้องใช้โทษประหารชีวิต
นอกจากนี้ ในกฎหมายเราเป็นที่ยอมรับว่า มีโทษประหารชีวิตในความผิดหลายฐานโดย
โทษอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติยาเสพติดฯ จะสมเหตุสมผลหรือไม่ ถ้าเห็นว่า
โทษประหารชีวิตยังคงมีความจำาเป็นในสังคมไทย อาจจะต้องปรับกฎหมายให้มีความเหมาะสมต่อไป
ดร.แดนทอง บรีน กล่�วว่� ทำาไมคนไทยส่วนใหญ่คิดว่าจำาเป็นต้องมีโทษประหารชีวิต
อันดับแรก ทำาไมควรสนับสนุนการไม่ประหารชีวิต ในพื้นฐานมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนในข้อที่ ๑ คือ ควรคิดว่าทุกคนเป็นพี่น้องกัน
อันดับที่สอง ในข้อ ๓ ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีสาระสำาคัญว่า ทุกคน
มีสิทธิในการมีชีวิตของตนเอง ตามประวัติศาสตร์ของการเขียนปฏิญาณข้อนี้ ดังนั้น จึงไม่ควรมี
โทษประหารชีวิตในสังคม เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการมีชีวิตของมนุษย์
นอกจากนี้ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้อารัมภบทถึง (๑) ศักดิ์ศรีและค่า
ของมนุษย์เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าชีวิตของเขามีค่าและมีศักดิ์ศรี (๒) การศึกษา เพื่อส่งเสริม
การเคารพสิทธิเสรีภาพ เป้าหมายเพื่อให้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นคู่มือ เป็นอุปกรณ์
การสอนและการศึกษาว่าสิ่งที่สำาคัญที่สุด คือ การทำาให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้น ในอนาคตจะได้ไม่มี
การประหารชีวิต โดยแค่สอนและให้การศึกษาที่ถูกต้องแก่สมาชิกในสังคมต่อการยกเลิกโทษ
ประหารชีวิต
134 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ