Page 146 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 146
ความผิดคืออะไร เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ ถ้าจะยกเลิกโทษประหารชีวิต
ต้องมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรทำาประชามติเรื่องนี้ด้วย
รองศ�สตร�จ�รย์ณรงค์ ใจห�ญ กล่าวว่า ข้อถกเถียงว่าควรมีหรือไม่มีโทษประหารชีวิต
ถกเถียงกันมานานแล้ว และคงต้องถกเถียงกันต่อไปว่าโทษประหารชีวิตควรจะมีหรือไม่ และท้ายที่สุด
คงต้องเป็นเรื่องของนโยบายหรือความเห็นร่วมของชาวไทยว่าจะให้คงอยู่หรือไม่ อย่างไร สำาหรับ
มุมมองของกระบวนการยุติธรรมต่อความเห็นในเรื่องโทษประหารชีวิต ประกอบด้วย
ประเด็นแรก คือ ข้อสนับสนุน พบว่าวัตถุประสงค์ของการลงโทษประหารชีวิตมีหลายประการ
และใช้กับผู้กระทำาผิดในแต่ละลักษณะ แต่เป้าหมายของการลงโทษคนที่กระทำาความผิดอาญา คือ
จะทำาอย่างไรไม่ให้เขากระทำาความผิดซ้ำา อันจะส่งผลให้สังคมมีความปลอดภัย ดังนั้น วิธีที่จะลด
การกระทำาผิดซ้ำา ก็อาจจะต้องเลือกว่าจะแก้ไขหรือข่มขู่ผู้กระทำาผิด หรือจะให้ผู้กระทำาผิดอยู่ใน
ความควบคุมตลอดไป เช่น โทษจำาคุกตลอดชีวิต หรือว่าตัดออกไปจากสังคม ข้อสนับสนุน
ของโทษประหารชีวิต คือ ถ้าประหารชีวิตแล้วสังคมจะมีความปลอดภัยจากผู้กระทำาผิดแน่นอน
หรือถ้าหากเลือกโทษจำาคุกตลอดชีวิต จะต้องถูกจำาคุกตลอดชีวิตจนกระทั่งสังคมมีความปลอดภัย
ฉะนั้น โทษจำาคุกตลอดชีวิตที่นำาเข้ามาเพื่อแก้ไข หรือตัดผู้กระทำาความผิดออกจากสังคม จะต้องทำา
อย่างเข้มงวด และทางราชทัณฑ์หรือศาลน่าจะมีบทบาทในการพิจารณาว่าคน ๆ นั้นควรจะได้รับ
การปล่อยตัวหรือไม่ โดยจะต้องมีการลงโทษจริง คือ ตราบใดที่สังคมยังไม่มีความปลอดภัย
จะไม่ปล่อยออกจากคุกหากไม่แน่ใจว่าจะแก้ไขพฤติกรรมได้จริง ถ้าแก้ไขในจุดนี้ได้สังคมไทยก็คง
จะต้องตอบปัญหาได้ว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความจำาเป็น จะใช้โทษจำาคุกตลอดชีวิตแทน เพื่อสร้าง
ความปลอดภัยให้กับสังคม
นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของโทษประหารชีวิตมิได้เป็นการข่มขู่ผู้กระทำาความผิด แต่เป็น
การข่มขู่คนทั่วไป ซึ่งมีมาตรฐานทางศีลธรรม เพราะโดยปกติคนจะคิดอะไร จะทำาอะไรในสิ่งผิด ๆ ก็จะ
ชั่งใจดูก่อนว่าคุ้มหรือไม่ ถ้าเป็นการข่มขู่ในลักษณะนี้โทษประหารชีวิตก็คงจะยับยั้งอาชญากรรมได้
ส่วนข้อโต้แย้งประกอบด้วย เหตุผลในกระบวนการยุติธรรม หากการใช้โทษประหารชีวิต
เกิดความผิดพลาดในเรื่องพยานหลักฐาน หรือการที่มีพยานเท็จแล้วได้มีการลงโทษประหารชีวิตไป
จะทำาให้เกิดปัญหาว่าจะคืนชีวิตไม่ได้ ซึ่งไม่เหมือนกับการลงโทษจำาคุก หรือการลงโทษปรับ ซึ่งสามารถ
ชดใช้คืนได้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรมที่อาจผิดพลาด อันนี้เป็นข้อโต้แย้งในเรื่อง
โทษประหารชีวิต
ประเด็นที่สอง เป็นเรื่องการข่มขู่ ซึ่งการข่มขู่จริงหรือไม่ มีการวิจัยมากมาย ก็ขึ้นกับว่า
ผลกระทบเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่ไม่ได้คิดก็คือว่า บุคคลซึ่งกลัวการลงโทษประหารชีวิตแล้วไม่ทำา
ความผิด เราไม่มีสถิติ มีแต่เพียงบุคคลที่ไม่กลัวการลงโทษประหารแล้วกระทำาความผิด จึงทำาให้เห็นว่า
โทษประหารชีวิตไม่มีประสิทธิภาพในการข่มขู่ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าสังคมไทยไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิต
ในแง่ของการเป็นโทษหลัก พอได้รับพระราชทานอภัยโทษก็เปลี่ยนเป็นจำาคุกตลอดชีวิต ดังนั้น ในแง่
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 133