Page 145 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 145
คือ ถ้าบุคคลใดกระทำาชั่วจะต้องตกนรก บุคคลใดกระทำาดีก็ไปสวรรค์ คำาว่า ตกนรก คือ จะต้อง
ถูกยมบาลฆ่าแล้วฆ่าอีก
การลงโทษประหารชีวิตนั้น เป็นการทำาลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้กระทำาผิดหรือไม่
ในประเด็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น เมื่ออาชญากรในขณะที่ฆ่าคนตายได้คำานึงถึงศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ของคนอื่นหรือไม่ เพราะเขาได้ทำาลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่นด้วยการ
ฆ่าเสียแล้ว แต่พอถึงเขาเองกลับยกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อจะไม่ถูกฆ่าบ้าง อย่างนี้เป็นธรรม
หรือไม่ ถ้าผู้กระทำาผิดได้คำานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว จะต้องไม่ไปฆ่าคนอื่น เพราะถ้าเขา
ฆ่าคนอื่นเมื่อไรเท่ากับเขาทำาลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น
การลงโทษประหารชีวิตนั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นทฤษฎีของการป้องปราม ซึ่งไม่หวังผล
กับการประหารชีวิต แต่การมีโทษประหารชีวิตเป็นพฤติการณ์เพื่อเป็นการป้องปราม เพื่อมิให้คนทั่วไป
กระทำาผิด คนดี ๆ จะกลัวโทษประหารชีวิตก็ไม่กล้ากระทำาผิด ผู้กระทำาผิดจริงคิดแล้วโดยเฉลี่ย
ร้อยละ ๑ ของประชาชนทั่วประเทศเท่านั้น ซึ่งคือประโยชน์ที่แท้จริงของการมีโทษประหารชีวิต
ปัจจุบันยังมีแนวคิดทฤษฎีที่ใช้กันมาก คือ ทฤษฎีการลงโทษเพื่อให้เหมาะสมกับความผิด
ที่ได้กระทำา ทุกวันนี้ผู้พิพากษาใช้ทฤษฎีนี้ เพราะฉะนั้นการลงโทษประหารชีวิตของผู้พิพากษา
ท่านคิดแล้วคิดอีกว่าจะลงโทษประหารชีวิตหรือไม่ ศาลจะลงโทษประหารชีวิตก็ต่อเมื่อเหมาะสมแล้ว
กับความผิดที่ผู้กระทำาได้ทำาแล้วเท่านั้น เป็นการฆ่าโดยเจตนา ไตร่ตรองไว้ก่อน การฆ่าซึ่งโหดเหี้ยม
ทารุณ การลงโทษประหารชีวิตจึงน้อยมาก เมื่อเทียบกับการกระทำาความผิดที่เกิดขึ้นตามที่ศาล
ได้พิพากษา ถ้าจะยกเลิกโทษประหารชีวิตก็ต้องมีการลงโทษจำาคุกตลอดชีวิต แต่ต้องมีเงื่อนไข
เช่น ถ้าลงโทษประหารชีวิตเพราะเขาได้ฆ่าคนอุกฉกรรจ์ ผู้กระทำาความผิดจะต้องถูกจำาคุก
ตลอดชีวิตจริง ๆ ที่สหรัฐอเมริกาคดีอุกฉกรรจ์จะต้องถูกจำาคุกไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี เมื่อพ้น ๓๐ ปี
แล้ว จึงจะมาพิจารณาถึงเหตุบรรเทาโทษว่าจะให้ออกจากคุกหรือไม่ ในทางกลับกันจะลงโทษประหาร
ชีวิตก็ต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
๑. ใช้กับความผิดอุกฉกรรจ์อย่างแท้จริง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาถึงความเหมาะสม
ต่อไป
๒. ถ้าเป็นฆาตกรติดนิสัยฆ่าแล้วฆ่าอีกไม่หลาบจำา ก็ต้องพิจารณาว่า คนคนนี้ควรประหาร
ชีวิตหรือไม่ ชีวิตคนมีค่าแต่ไม่มีสิทธิ์ฆ่าคนอื่น
โทษประหารชีวิตจะมีหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่จะต้องแก้ไข คือ
ต้องใช้ทฤษฎีความรู้การลงโทษทางอาชญาวิทยา ซึ่งคิดว่ามีอยู่ทั้งหมด ๖ ทฤษฎี ได้แก่
ทฤษฎีการลงโทษเพื่อป้องปราม ทฤษฎีการลงโทษเพื่อชดเชยความเสียหาย ทฤษฎีการลงโทษ
เพื่อแก้แค้น ทฤษฎีการลงโทษเพื่อตัดโอกาสการกระทำาความผิดอีก ทฤษฎีการลงโทษเพื่อฟื้นฟู
การกระทำาความผิด และสำาคัญที่สุดซึ่งตอนนี้นิยมที่สุดในโลก คือ ทฤษฎีการลงโทษเพื่อให้
เหมาะสมกับความผิดที่ได้กระทำา ต้องมีการวิจัยรูปแบบความผิดและการลงโทษที่จะเหมาะสม
กับความผิดใด ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการวิจัยอย่างรีบด่วนว่ามีความผิดอย่างนี้โทษที่เหมาะสมกับ
132 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ