Page 144 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 144
มีการดำาเนินการอีกหลายประการตามมา คือ
ประการแรก คือ จะต้องมีเรือนจำาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมผู้ต้องขังที่ไม่มีทางได้ออก
เพราะการที่จะเอาคนขังคุกโดยไม่มีโอกาสได้ลดหย่อนผ่อนโทษ เหมือนกับการเอาระเบิดเวลาไปไว้
ในคุกนั่นเอง เพราะคนเหล่านี้หมดโอกาส หมดหนทางในชีวิต ก็จะระเบิดออกมาให้ได้ เพราะฉะนั้น
มีการเปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นจำาคุกตลอดชีวิต โดยไม่มีการได้ออกมาแล้ว หมายความว่า ต้องมี
เรือนจำาที่มีโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ มีเจ้าหน้าที่เพียงพอในการควบคุมคนเหล่านี้ ฉะนั้นถ้าหากว่า
จะปรับเปลี่ยนโทษ สิ่งที่ต้องทำาประการแรก คือ เรื่องของการปรับระบบเรือนจำาใหม่ ต้องมีเรือนจำา
ที่มีความมั่นคงแข็งแรง สำาหรับรองรับนักโทษที่จะต้องถูกจำาคุกในระยะยาวเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะ
รองรับตรงนี้ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่สังคมจะต้องทบทวนว่าพร้อมที่จะลงทุน พร้อมที่จะปรับตรงนี้แล้ว
หรือไม่ ปรับกระบวนการยุติธรรมเพื่อรองรับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำา เพราะขณะนี้มีการควบคุมผู้กระทำาผิด
โดยที่ไม่ลงทุนปรับโครงสร้างให้รองรับกับโทษหนักที่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้ามีการปรับระบบ
ในกระบวนการยุติธรรม ระบบการลงโทษ ระบบคำาพิพากษา ก็มีความจำาเป็นที่จะต้องมีการรองรับ
ถ้าหากว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโทษประหารชีวิต
ประการที่สอง ถ้าหากจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต จะต้องพิจารณาถึงเรื่องของการ
ป้องกันและการแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคม ทุกวันนี้โทษประหารชีวิตเหมือนปลายเหตุ แต่สังคม
ยังสร้างอาชญากรที่มีความโหดร้าย สร้างอาชญากรที่ไม่สนใจสังคม คิดที่จะทำาลายสังคม หรือสร้าง
ความเดือดร้อนให้สังคม จะต้องแก้ปัญหาตรงนั้น ทำาอย่างไรจะขจัดตรงนั้นได้ มากกว่าไปมอง
โทษประหารชีวิตที่ปลายเหตุ ถ้าหากว่าสามารถขจัดตรงนี้ได้ โทษประหารชีวิตก็ไม่มีความ
จำาเป็น
นอกจากนี้ ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนโทษประหารชีวิต จะเห็นได้ว่าในอดีตมีการเปลี่ยน
จากการประหารชีวิตโดยการฆ่าตัดศีรษะ แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นลงโทษประหารชีวิตโดยการ
ฉีดยา ซึ่งเป็นวิธีการประหารชีวิตที่มีมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้น ในที่สุดอาจจะนำาไปสู่การยกเลิกโทษ
ประหารชีวิต เพราะฉะนั้นก็คือการปรับตรงนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะยังคงโทษประหารชีวิต แต่ลด
ระดับความรุนแรงของรูปแบบการประหารชีวิตเพื่อทดสอบแนวความคิดของคนในสังคม ต่อการ
ยอมรับโทษประหารชีวิต
ประการที่สาม เรื่องโทษประหารชีวิตเป็นเรื่องของการให้ความรู้คนในสังคม ให้ความเข้าใจ
และในเรื่องของการที่เราจะต้องมีทางเลือกในการลงโทษอื่นๆ ให้คนในสังคมได้เลือก และตัดสินใจว่า
จะไปในทางใดที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า หรือมีหนทางที่จะแก้ ก็คงมีความสุข และมีความพร้อม
ที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตต่อไป
ดร.วิชช์ จีระแพทย์ กล่าวว่าทฤษฎีของการลงโทษประหารชีวิต มีที่มาจากทฤษฎี
ของการลงโทษเพื่อการแก้แค้น (Retribution) ป้องปราม (Deterrence) อันมีที่มาจากหลักศาสนา
ในทุกศาสนา ซึ่งมีความเชื่อว่า ศาสนามีนรกกับสวรรค์ ซึ่งสอดคล้องคู่กับทฤษฎีของการป้องปราม
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 131