Page 143 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 143

อาชญากรรมส่วนหนึ่งเกิดความเกรงกลัวแต่ประการใด  กล่าวคือ  ความเสี่ยงต่อการถูกดำาเนินคดี
                  ในประเทศไทยน้อย  ซึ่งถ้ามีความเสี่ยงมากต่อการถูกการดำาเนินคดีจะเป็นเหตุให้เกิดการยับยั้ง

                  การประกอบอาชญากรรม  รวมทั้งหากกระบวนการยุติธรรมที่มีการคอรัปชั่น  จะทำาให้เกิดปัญหา

                  มากขึ้น  ผู้ประกอบอาชญากรรมจะคิดว่าไม่มีความเสี่ยงอะไรต่อการถูกดำาเนินคดี  จะทำาให้
                  มีการประกอบอาชญากรรมได้ง่าย  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหากบุคคลเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการ
                  ถูกดำาเนินคดีน้อยก็จะประกอบอาชญากรรมได้ง่าย  ในขณะที่หากเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการถูก

                  ดำาเนินคดีมากก็จะไม่กล้าประกอบอาชญากรรม

                           สำาหรับประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ระบบและบุคลากร
                  โดยกระบวนการยุติธรรมของประเทศมีจุดอ่อนทั้งสองส่วน  ซึ่งระบบของกระบวนการยุติธรรม
                  ที่ไม่ดีจะทำาให้เกิดความเสี่ยงน้อยต่อการถูกดำาเนินคดี  จึงทำาให้บุคคลบางส่วนมีความกล้า

                  ที่จะประกอบอาชญากรรม  โดยระบบของประเทศไทยประสบปัญหาเนื่องจากการคอรัปชั่น

                  เป็นปัญหาที่สำาคัญของประเทศไทย  โดยกระบวนการยุติธรรมไม่ทำางานร่วมกันให้เกิดความ
                  เป็นเอกภาพ หรือบูรณาการในการทำางานร่วมกัน แต่ละองค์กรต่างแยกกันปฏิบัติงาน นอกจากนี้
                  บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมีการคอรัปชั่น  ติดสินบนได้ง่าย  อันเป็นปัญหาอุปสรรค

                  ของประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม

                           โทษประหารชีวิตกับพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญ  รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ  คือ  พุทธศักราช
                  ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งโทษประหารชีวิตจะคงอยู่ไม่ได้ ซึ่งหาก
                  มีการยอมรับในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  การใช้โทษประหารชีวิตจะคงอยู่ไม่ได้ตามข้อกำาหนด

                  ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ จากงานวิจัยต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นว่า การมีโทษประหารชีวิตไม่ได้

                  ทำาให้อาชญากรรมลดลงแต่ประการใด  อาชญากรรมจะลดลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ
                  ของกระบวนการยุติธรรม  ดังนั้น  ควรจะยกเลิกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่  เพื่อจะได้คงไว้
                  ซึ่งโทษประหารชีวิต  หรือถ้าหากจะยอมรับในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ก็จะต้องมีการดำาเนินการ

                  ยกเลิกโทษประหารชีวิตให้ออกจากกระบวนการยุติธรรม



                           น�ยนัทธี จิตสว่�ง อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่เห็นว่า
                  ยังควรให้มีโทษประหารชีวิตอยู่ เพื่อยับยั้งให้คนเกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำาความผิด แต่เมื่อ

                  มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่าโทษประหารไม่สามารถยับยั้งการกระทำาความผิดได้  หากมี

                  วิธีการลงโทษด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับผู้กระทำาความผิด สังคมก็จะยอมรับในส่วนนี้ได้ สำาหรับกรณี
                  เปลี่ยนโทษประหารให้เป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิตนั้น  เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะต้องมีการดำาเนินการ
                  อีกหลายประการตามมา รวมทั้งจำาเป็นต้องมีเรือนจำาที่มีประสิทธิภาพ มีความแข็งแรงเพื่อรองรับ

                  นักโทษ และมีเจ้าหน้าที่ที่เพียงพอต่อการดูแล เนื่องจากขณะนี้มีนักโทษที่มีโทษสูงจำานวนมาก รวมทั้ง

                  ต้องมีการปรับกระบวนการยุติธรรมในขณะนี้ด้วย ดังนั้น การยกเลิกโทษประหารชีวิตจึงอาจเป็นการ
                  แก้ที่ปลายเหตุ อย่างไรก็ตาม หากจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย เป็นเงื่อนไขที่ต้อง






       130     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148