Page 142 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 142
ผลการเสวนา สรุปได้ว่า
พลตำ�รวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะ
ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า
ปัจจุบันประเทศที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต ทั้งด้านกฎหมายและการปฏิบัติ มีจำานวน
ทั้งสิ้น ๑๓๙ ประเทศ แต่ขณะนี้มีจำานวน ๕๙ ประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิตอยู่
โดย ๑ ในนั้นก็มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ซึ่งโทษประหารชีวิตอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้มีการฉีดยาเพื่อประหารชีวิตนักโทษชาย ๒ คน
ที่เรือนจำากลางบางขวาง กรุงเทพฯ นับเป็นโทษประหารชีวิต ๒ รายแรก หลังจากที่ประเทศไทย
ไม่ได้ใช้โทษประหารมาเป็นระยะเวลา ๖ ปี ทำาให้ไทยถูกจับตามองว่าก้าวถอยหลัง เพราะใช้
บทลงโทษที่ละเมิดสิทธิในการมีชีวิตอยู่ของบุคคล ส่วนในมุมมองของกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ พลตำารวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด คิดว่าทุกคนมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ เมื่อมอง
ในฐานะอาชญาสิทธิ์ คือ คนที่ทำาผิดต้องได้รับการลงโทษ แต่โทษที่ลงนั้นต้องสมดุลกับความผิด
ที่ได้กระทำา ขณะที่ในด้านของนักรัฐศาสตร์เห็นว่า หากจะให้บ้านเมืองสงบต้องมีกติกา สำาหรับ
โทษประหารชีวิตเป็นโทษที่รุนแรง แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมด้วย
การประหารชีวิตด้วยวิธีฉีดยาเท่าที่ศึกษาเป็นวิธีที่มีมนุษยธรรมมากที่สุด แต่ทั้งนี้
โทษบางอย่างหากลดจากการประหารชีวิตต้องหาคำาตอบให้ได้โดยเฉพาะสังคมไทย โดยเฉพาะ
ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง หากปรับเปลี่ยนโทษจากโทษประหารชีวิตจะต้องมีการคิดทบทวน
ให้รอบคอบ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำาให้เกิดข้อคิดเห็นและเกิดคำาถามว่าประเทศไทยควรจะยุติ
การลงโทษด้วยการประหารชีวิตหรือไม่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดย คณะอนุกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม จึงได้จัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
และจะได้จัดทำาข้อสรุปเพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ศ�สตร�จ�รย์ ดร.คณิต ณ นคร คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กล่าวว่า ถ้ากระบวนการยุติธรรมดี การลงโทษมักมีผลทำาให้คนในสังคมเกิดความเกรงกลัว สำาหรับ
เหตุผลในการประกอบอาชญากรรมของบุคคลในสังคม หากมองในมุมมองของเศรษฐศาสตร์จะเห็นว่า
เกี่ยวข้องกับเรื่องกำาไร ขาดทุน ที่ผู้ประกอบอาชญากรรมจะมีการคำานึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการประกอบ
อาชญากรรมและผลร้ายที่จะได้รับ โดยจะพิจารณาจากความเสี่ยงในการประกอบอาชญากรรม
เป็นสำาคัญ หากมีความเสี่ยงน้อย คนจะประกอบอาชญากรรมมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะต้องทำาให้
โอกาสในการประกอบอาชญากรรมของบุคคลในสังคมเกิดขึ้นน้อย ซึ่งอาชญากรจะพิจารณาจาก
ความเสี่ยงจากการถูกดำาเนินคดีเป็นปัจจัยหลัก ดังตัวอย่างของต่างประเทศที่ผู้กระทำาผิดมักจะถูก
ลงโทษแน่นอน ทำาให้บุคคลเกิดความเกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับ จึงมีความจำาเป็นต้องสร้างกระบวนการ
ยุติธรรมให้มีความเข้มแข็ง เมื่อสร้างกระบวนการยุติธรรมได้เข้มแข็งแล้ว จะมีโทษประหารชีวิต
หรือไม่ ก็ไม่มีปัญหาใด ๆ ทั้งสิ้น หากแต่โทษประหารชีวิตในประเทศไทยไม่ได้ทำาให้ผู้ที่จะประกอบ
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 129