Page 134 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 134
มักซ์ เวเบอร์ (Karl Emil Maximilian Weber) ได้เห็นถึงความจำาเป็นที่จะต้องมีรัฐว่า ถ้าไม่มี
สถาบันทางสังคมที่รู้จักวิธีการใช้ความรุนแรงในการควบคุม ดูแลผู้คน หรือประชาชนภายในรัฐ
แนวคิดเรื่องรัฐก็ไม่สามารถเกิดมีขึ้นได้ และเมื่อไม่มีรัฐ สภาพทางสังคมก็จะมีแต่ความสับสน
เป็นสังคมที่ไม่มีขื่อไม่มีแป ดังนั้น รัฐกับการใช้ความรุนแรงในการจัดการสังคมให้เกิดความสงบ
เรียบร้อยจึงเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และด้วยข้ออ้างในเรื่องการรักษา
ความสงบเรียบร้อยภายในรัฐ รัฐจึงประสบความสำาเร็จในการอ้างความชอบธรรมให้กับการใช้กำาลัง
อำานาจแต่เพียงผู้เดียวภายในอาณาเขตของรัฐ จากการเล่าอ้างถึงเรื่องการก่อกำาเนิดรัฐและที่มา
แห่งอำานาจของรัฐ ซึ่งมีแชล ฟูโก (Michel Foucault) เสนอว่าควรพิจารณาปัญหาความซับซ้อน
ในเรื่องอำานาจและสิทธิของรัฐ ในการ “จัดการ” กับสังคมเพื่อที่จะได้ตระหนักรู้ว่าการอ้างถึงเรื่อง
อำานาจและความชอบธรรมของรัฐนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการรักษาอำานาจ
สำาหรับแนวคิดเรื่องการใช้อำานาจความรุนแรงของรัฐนั้น เวเบอร์ได้กล่าวถึงเหตุผล
ที่เป็นข้ออ้าง ๓ ประการ ที่รัฐใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้อำานาจภายในรัฐ คือ
๑) จารีตประเพณีและความเชื่อที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต
จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
๒) คุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว หรือพรสวรรค์ของผู้นำา หรือผู้ปกครอง เช่น ในอดีตเชื่อว่า
ผู้นำาเป็นผู้ที่ถูกเลือกโดยพระเจ้า การใช้อำานาจ หรือความรุนแรงของผู้นำาเชื่อว่ากระทำา
ไปตามความประสงค์ของพระเจ้า หากแต่ในภาวะสงคราม ผู้นำาจะมีความสามารถ
ในการรบ ซึ่งการใช้อำานาจหรือความรุนแรงของผู้นำา เพื่อที่ปกป้องบ้านเมือง หรือ
เมื่อเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยที่ผู้นำา คือ ผู้ที่ได้รับเลือกจากประชาชนทั้งหลาย สามารถ
ใช้อำานาจหรือความรุนแรงตามข้อกำาหนดของกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
ของบ้านเมือง เป็นต้น
๓) ความเชื่อเรื่องความถูกต้องและชอบธรรม กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย
เพื่อทำาให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย อันเป็นความเชื่อที่ทำาให้รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มีอำานาจในการ “จัดการ” สังคม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข
จากแนวคิดของเวเบอร์ที่กล่าวว่า รัฐมีวิธีการอ้างเหตุผลและความชอบธรรมในการ
ใช้อำานาจและความรุนแรงในการจัดการกับสังคมที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย เช่น ในสมัย
โบราณผู้คนในสังคมให้การนับถือผู้นำาทางศาสนาหรือผู้เผยแพร่ศาสนา ก็อาจจะออกกฎหมายลงโทษ
ผู้ที่นับถือศาสนา หรือลัทธิอื่น หากแต่เมื่อยามมีสงครามก็นับถือนักรบในฐานะผู้นำาซึ่งมีอำานาจ
เด็ดขาดในการลงโทษผู้คนเพื่อนำาพาประเทศให้พ้นภัยสงคราม และรัฐสมัยใหม่ในปัจจุบัน ผู้ที่มี
อำานาจก็เปลี่ยนเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งของประชาชน
ผู้นำาจึงมีอำานาจในการกำาหนดนโยบายของรัฐ ซึ่งอาจเป็นนโยบายที่ทำาให้เกิดความรุนแรง
ในสังคม ซึ่งอาจกล่าวได้ ไม่ว่ารัฐจะมีระบอบการปกครองที่เปลี่ยนไปอย่างไร หรือมีวิธีเลือกผู้นำา
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 121