Page 132 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 132

โดยทฤษฎีนี้เห็นว่าการลงโทษก่อให้เกิดผลดี  เนื่องจากการลงโทษจะเป็นการยับยั้ง
                     อาชญากรรมทั้งต่อตัวผู้กระทำาผิดและบุคคลทั่วไปในสังคม  นอกจากนี้  การลงโทษจะมีผลต่อ

                     การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิด  และการลงโทษเป็นการตัดโอกาสไม่ให้ผู้กระทำาผิดได้กระทำาผิดขึ้นอีก

                     (วิชัย เดชชุติพงศ์, ๒๕๕๕)
                             เช่นเดียวกับการใช้โทษประหารชีวิตในสังคมที่มีบทบัญญัติทางกฎหมายสำาหรับผู้กระทำาผิด
                     ที่มีความรุนแรง  เป็นแนวคิดในการลงโทษผู้กระทำาผิดตามแนวคิดของทฤษฎีแก้แค้นทดแทน

                     (Retributive Theory) และทฤษฏีอรรถประโยชน์ (Utilitarian Theory) กล่าวคือ โทษประหาร

                     ชีวิตเป็นหลักการที่สำาคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรมในสังคมมาเป็นระยะ
                     เวลานานในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย  โดยการบัญญัติกฎหมายสำาหรับโทษประหารชีวิต
                     อันเป็นการลงโทษผู้กระทำาผิดที่ไม่เคารพกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม วิธีการลงโทษด้วย

                     การประหารชีวิตถือเป็นอัตราโทษสูงสุดที่มีวิธีการลงโทษที่มีความรุนแรงมากที่สุด  มีวัตถุประสงค์

                     หลักเพื่อแก้แค้นทดแทนผู้กระทำาผิดและเป็นการกำาจัดผู้กระทำาผิดออกจากสังคมอย่างถาวร
                     และการป้องปรามพฤติกรรมการกระทำาผิดอันเป็นหลักการในการรักษาความสงบเรียบร้อย
                     และความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งประกอบด้วย




                             ก�รลงโทษประห�รชีวิตเป็นก�รธำ�รงไว้ซึ่งคว�มยุติธรรมของกระบวนก�รยุติธรรม
                             เนื่องจากการลงโทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุดจนถึงแก่ชีวิตของผู้กระทำาผิด
                     อันนำาไปสู่การทำาให้ผู้กระทำาผิดเกิดความเกรงกลัวและหวาดเกรงมากที่สุด โดยการลงโทษประหาร

                     ชีวิตสามารถใช้เป็นมาตรการในการต่อรองที่จะโน้มน้าวให้ผู้กระทำาผิดยอมรับสารภาพผิดเพื่อจะได้รับ

                     การลดหย่อนโทษ ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมจึงต้องมีการดำาเนินงานด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกัน
                     ไม่ให้มีการลงโทษผู้กระทำาผิดที่ผิดคน  หรือการรวบรวมพยานหลักฐานอย่างระมัดระวังให้ได้พยาน
                     หลักฐานมากที่สุด  เพื่อทำาให้การดำาเนินงานของกระบวนการยุติธรรมมีความถูกต้องมากที่สุด

                     การลงโทษประหารชีวิตจึงเป็นสิ่งสำาคัญที่จะเอื้ออำานวยให้การแสวงหาข้อเท็จจริงในกระบวนการ

                     ยุติธรรม ทำาให้การดำาเนินงานของกระบวนการยุติธรรมดำาเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ


                             ก�รลงโทษประห�รชีวิตเป็นก�รสนองตอบคว�มต้องก�รของบุคคลส่วนหนึ่งในสังคม

                             เนื่องจากการลงโทษประหารชีวิตเป็นมาตรการลงโทษที่มีประสิทธิผลยิ่งต่อการป้องกัน

                     อาชญากรรม และเป็นเครื่องมือสำาคัญของรัฐที่จะสนองตอบทดแทนการแก้แค้นส่วนบุคคล ทั้งบุคคล
                     ส่วนหนึ่งในสังคมมีความเห็นว่าการลงโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งจำาเป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย
                     ของบ้านเมือง  และเป็นสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม  โดยเฉพาะเป็นการสร้างความเป็นธรรม

                     ให้แก่เหยื่อที่ถูกกระทำา  หรือสังคมที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม

                     เนื่องจากการใช้โทษประหารชีวิตในทัศนะของบุคคลส่วนหนึ่งอาจเห็นว่าเป็นสิ่งที่ผู้กระทำาผิดควร
                     ได้รับ หรือเป็นสิ่งที่ผู้กระทำาผิดควรรับผิดชอบต่อพฤติกรรมการกระทำาผิดดังกล่าว






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 119
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137