Page 136 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 136
กระทำาเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ และความสงบสุขของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม มากกว่า
ที่จะกระทำาเพื่อการปกป้องใครคนใด หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคมเท่านั้น
ปัญหาจากการที่รัฐใช้ความรุนแรงจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในรัฐนั้น เวเบอร์
กล่าวว่า การที่รัฐเลือกที่จะจัดการกับปัญหาภายในด้วยการใช้ความรุนแรง ก็เนื่องมาจากการที่รัฐ
ถือกำาเนิดเกิดขึ้นมาจากการใช้กำาลัง และเป็นเพียงสถาบันเดียวที่ผูกขาดการใช้กำาลังอย่างถูกต้อง
ตามกฎหมายภายในอาณาบริเวณของรัฐ ดังนั้น รัฐจึงสามารถใช้อำานาจอันชอบด้วยกฎหมายนี้
เป็นข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงลงโทษประชาชนผู้ที่กระทำาผิดกฎหมายของรัฐ
ประเด็นเรื่องการใช้ความรุนแรงของรัฐต่อประชาชนนั้น ฮันนาห์ อาเร็นดท์ (Hannah Arendt)
ได้ให้ความเห็นว่า ไม่มีรัฐหรือรัฐบาลใดที่ปกครองด้วยความรุนแรงแล้วจะอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว
คนเพียงคนเดียวไม่สามารถใช้ความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพฉันใด รัฐก็ไม่สามารถใช้ได้เช่น
เดียวกัน การใช้ความรุนแรงจึงเหมือนกับการใช้เครื่องมือชนิดอื่นๆ ที่จำาเป็นต้องมีคู่มือในการใช้
และเหตุผลข้ออ้างในการที่จะใช้ความรุนแรง อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงถือเป็นมาตรการขั้นสุดท้าย
หรือวิธีการขั้นเด็ดขาดที่รัฐจะใช้จัดการกับปัญหาหรือตอบโต้ใครคนใดก็ตามที่ละเมิด หรือปฏิเสธที่จะ
ปฏิบัติตามอำานาจที่มีฐานมาจากเสียงส่วนใหญ่ของรัฐหรือมติมหาชน ดังนั้น ในการใช้ความรุนแรง
รัฐจึงจำาเป็นต้องสร้างเหตุผลข้ออ้างมารองรับเสียงการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของรัฐ
อาเร็นดท์กล่าวว่าการสนับสนุนของประชาชนต่อการใช้ความรุนแรงของรัฐ คือ การมอบ
อำานาจ และการให้การรับรองการทำางานของสถาบันต่าง ๆ ภายในรัฐ ซึ่งการสนับสนุนของประชาชน
ต่อการใช้อำานาจของรัฐนี้ ทำาให้เกิดการบัญญัติตัวบทกฎหมายและสถาบันต่าง ๆ ขึ้นภายในรัฐ
ภายใต้เงื่อนไขที่ว่ารัฐจะต้องทำาหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ดังนั้น ประชาชนจึงควรที่จะมีอำานาจ
เหนือรัฐ รัฐบาล และสถาบันต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการมอบอำานาจและการให้การรับรองนั้น
อย่างไรก็ตาม เสียงสนับสนุนของประชาชน คือ อำานาจของรัฐซึ่งขึ้นอยู่กับจำานวนของผู้สนับสนุน
ถ้ารัฐได้รับการยอมรับและมีเสียงสนับสนุนมากก็อาจนำาไปสู่การใช้อำานาจการปกครองแบบ
เผด็จการด้วยเสียงข้างมาก และการใช้ความรุนแรงภายในรัฐได้
นอกจากนี้ จากการที่รัฐกล่าวอ้างถึงเรื่องจำานวน ไม่ว่าจะเป็นการอ้างถึงจำานวนประชากร
ที่ดิน หรือสินทรัพย์ จำานวนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการละเมิดข้อกำาหนดของรัฐ จึงเปรียบเสมือน
เป็นเทคนิคที่สำาคัญของรัฐในการควบคุมสังคม และในการสร้างความเชื่อต่อความเป็นธรรมให้กับ
การใช้ความรุนแรงของรัฐ โดยการกล่าวอ้างว่าผู้ที่ละเมิดกฎหมายนั้นเป็นภัยคุกคามต่อสังคม
และเป็นเพียงบุคคลเดียวหรือกลุ่มบุคคลส่วนน้อยเท่านั้น ซ้ำายังเป็นอันตรายอย่างมากต่อสังคม
ส่วนใหญ่หรือประชาชนส่วนมากของรัฐ ถ้าไม่ “กำาจัด” บุคคลดังกล่าวออกไปจากสังคม ดังนั้น
จึงเป็นสิ่งที่สังคมหรือประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นชอบ และให้การสนับสนุนกับการที่รัฐจะ “ฆ่า” หรือ
“กำาจัด” ผู้ที่กระทำาผิดร้ายแรงให้ออกไปจากสังคมอย่างถาวร หรือกระทำาการลงโทษประหารชีวิต
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ (อาจจะ) เป็นอันตรายต่อรัฐและประชาชนในสังคมตามที่รัฐกล่าวอ้าง
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 123