Page 131 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 131

๑. การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนมุ่งกระทำาเพื่อโต้ตอบการกระทำาที่ผิดกฎหมาย
                                     แต่การแก้แค้นเป็นการโต้ตอบการกระทำาที่ทำาให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ

                                     หรือได้รับความเสียหายโดยไม่คำานึงว่าการกระทำาที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

                                     แก่ตนนั้นจะเป็นความผิดหรือไม่
                                  ๒. การแก้แค้นเพื่อทดแทนจะต้องได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับความหนักเบา
                                     ของความผิด  แต่การแก้แค้นนั้นไม่มีข้อจำากัด  ขึ้นอยู่กับความพอใจของ

                                     ผู้แก้แค้นว่าจะกระทำาให้ผู้ถูกแก้แค้นได้รับความเสียหายอย่างไรจึงจะสาแก่ใจ

                                  ๓. การแก้แค้นเป็นเรื่องส่วนตัวในลักษณะที่ว่าผู้แก้แค้นจะต้องมีความสัมพันธ์
                                     กับคนที่ได้รับความเสียหายและผู้ถูกแก้แค้น แต่การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน
                                     ผู้มีอำานาจลงโทษซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐไม่ต้องมีความสัมพันธ์กับผู้กระทำาผิด

                                     หรือผู้เสียหายแต่อย่างใด

                                  ๔. การแก้แค้นเป็นเรื่องความรู้สึกในใจของผู้แก้แค้นที่พอใจกับการที่ผู้ถูกแก้แค้น
                                     ได้รับจากการทรมานหรือความเสียหายที่ได้รับ  โดยผู้แก้แค้นจะทิ้งร่องรอย
                                     การแก้แค้นให้ทราบ  ในขณะที่การลงโทษโดยการแก้แค้นทดแทนจะไม่ทิ้ง

                                     ร่องรอยดังกล่าว

                                  ๕. การแก้แค้นอาจเกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้ว อาจมีการแก้แค้นในครั้งต่อ ๆ ไป ในขณะที่
                                     การลงโทษแก้แค้นทดแทนมีกฎหมายเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการลงโทษ
                                     ผู้กระทำาผิดอีก หากผู้กระทำาผิดไม่ได้กระทำาผิดขึ้นมาอีก (วิชัย เดชชุติพงศ์,

                                     ๒๕๕๕)

                                  สรุปได้ว่า  ทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนเป็นทฤษฎีที่นำามาอธิบาย
                  ความชอบธรรมในการลงโทษผู้กระทำาผิด  เพื่อเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียหาย
                  และสังคม  โดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องเป็นฝ่ายแก้แค้นด้วยตนเอง  หากแต่รัฐเป็นผู้ที่ดำาเนินการลงโทษ

                  เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมให้ อันเป็นการสร้างความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรมให้แก่รัฐ



                                  ๒. ทฤษฏีอรรถประโยชน์ (Utilitarian Theory)
                                  ทฤษฎีอรรถประโยชน์มองลักษณะของสังคมมนุษย์และกฎหมายอาญาว่า

                  มีลักษณะสำาคัญ ๓ ประการ คือ

                                  • มนุษย์พยายามแสวงหาความพอใจและหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
                                  • สังคมควรจะมีการดำาเนินการตามหลักประโยชน์สูงสุดเพื่อมวลสมาชิก
                                     จำานวนสูงสุด หรือส่วนใหญ่ของสังคม

                                  • ในส่วนของกฎหมายอาญา การพิจารณาความร้ายแรงของความผิดแต่ละฐาน

                                     ควรพิจารณาจากความเสียหายซึ่งกระทำาต่อสังคม








       118     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136