Page 130 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 130

จำานวนโทษที่ผู้กระทำาผิดควรจะได้รับจะต้องเท่าเทียมกับความเสียหายที่ผู้กระทำาผิดได้กระทำา
                     ในการกระทำาผิดนั้น อย่างไรก็ดี อาจมีข้อยกเว้นจากหลัก ดังกล่าวได้ ๒ กรณี คือ

                                       n กรณีที่การลงโทษสูงกว่าความเสียหายที่ผู้กระทำาก่อขึ้นนั้น  สามารถ

                                          กระทำาได้ในกรณีของการลงโทษจำาคุกตลอดชีวิตแก่ผู้กระทำาผิดที่เป็น
                                          อันตรายต่อสังคมเพื่อปกป้องสังคมให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น
                                       n ในทางตรงกันข้ามการลงโทษอาจต่ำากว่าสัดส่วนแห่งความผิด  ในกรณี

                                          ที่ผู้กระทำาผิดไม่มีโอกาสที่จะกระทำาผิดนั้นอีก ดังนั้น ผู้กระทำาผิด

                                          จะได้รับการลดโทษ  หรือรอการลงโทษ  และให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข
                                          การคุมประพฤติ



                                     ปัญหาว่าจะถือหลักใดมาพิจารณาว่าโทษจำานวนเท่าใดจึงจะได้สัดส่วน

                     กับความผิดที่ผู้กระทำาผิดได้ก่อให้เกิดขึ้น ในประเด็นนี้ Immanuel Kant เห็นว่า “โทษที่ผู้กระทำา
                     ได้รับจะต้องได้สัดส่วนพอดี ทั้งสภาพและความหนักเบาของความรับผิดของผู้กระทำาผิด”
                                     โดยสภาพและความหนักเบาของความผิดนี้พิจารณาได้จากความร้ายแรง

                     ทางศีลธรรมของความผิดแต่ละฐาน  และพิจารณาจากความน่าตำาหนิจากพฤติการณ์ของ

                     การกระทำาผิดในแต่ละเรื่อง  นอกจากนี้  ยังรวมถึงความร้ายแรงที่ผู้กระทำาก่อให้เกิดขึ้นอันเกิด
                     จากการกระทำาโดยเจตนา  ประมาท  ดังนั้น  หลักการพิจารณาในเรื่องสัดส่วนของโทษ
                     จะต้องพิจารณาถึงสภาพและความหนักเบาของความผิด  ซึ่งประกอบด้วยความร้ายแรงของ

                     ความเสียหายในทางการกระทำา  และผลต่อสังคมอันเกิดจากการกระทำาผิดนั้นเป็นสำาคัญ  ซึ่งการ

                     ลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนมีลักษณะสำาคัญ ๓ ประการ คือ
                                     • ประการแรก จำานวนโทษที่ทดแทนจะต้องพอเหมาะกับการกระทำาผิด เพื่อทำาให้
                                        ผู้กระทำาสามารถจดจำาว่าความเจ็บปวดที่ได้รับจากการถูกลงโทษเป็น

                                        เพราะผู้กระทำาผิดได้กระทำาผิดลงไป

                                     • ประการที่สอง  การแก้แค้นทดแทนนั้นจะต้องกระทำาต่อผู้กระทำาผิดโดยตรง
                                        หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่รวมไปถึงญาติพี่น้องของผู้กระทำาด้วย
                                     • ประการสุดท้าย เป็นการแก้แค้นทดแทน ซึ่งกำาหนดโทษให้มีจำานวนพอเหมาะ

                                        กับความร้ายแรงของความเสียหายที่ผู้กระทำาผิดก่อขึ้น

                                     แม้ว่ารากฐานของทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนการกระทำาผิดจะมี
                     พื้นฐานมาจากแนวความคิดเรื่องการแก้แค้นทดแทน  (revenge)  หรือชดใช้ความเสียหายให้แก่
                     ผู้เสียหาย  แต่การลงโทษโดยการแก้แค้นทดแทนในปัจจุบัน  ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในสังคม

                     ที่เจริญแล้ว มิอาจถือได้ว่าเป็นกรณีเดียวกับการแก้แค้นในสังคมดั้งเดิม ความแตกต่างของการแก้แค้น

                     ทดแทนแยกพิจารณาได้เป็น ๕ ประการ คือ








                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 117
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135