Page 135 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 135

ซึ่งจะขึ้นมาปกครองมีอำานาจในรัฐที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัยอย่างไร  สุดท้ายผู้ที่สามารถอ้าง
                  ความชอบธรรมให้กับตนเองหรือหมู่คณะ  ในการปกครองหรือมีอำานาจจ่อรัฐได้  คือ  ผู้นำา  หรือ

                  ผู้ที่มีอำานาจในการใช้ความรุนแรงจัดการกับสังคมและผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐหรือสังคมนั้น

                           เวเบอร์กล่าวว่า แม้จะมีการกล่าวอ้างถึงความชอบธรรมที่เกิดขึ้นจากอ้างที่มาแห่งอำานาจ
                  ของรัฐในรูปแบบต่างๆ แต่ตามความเป็นจริงแล้วสามารถสรุปได้ว่า ประชาชนเชื่อฟังรัฐและยอมให้รัฐ
                  ใช้ความรุนแรงในรัฐได้ เนื่องมาจากแรงจูงใจ ๒ อย่าง คือ ความกลัวที่จะถูกแก้แค้นโดยผู้มีอำานาจ

                  เหนือกว่า และความหวังที่จะได้รับผลประโยชน์ทั้งทางวัตถุปัจจัยและทางสังคม รวมไปถึงการได้รับ

                  รางวัลทั้งในโลกนี้และ/หรือโลกหน้า ตามความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในสังคมนั้น


                           นอกจากนี้ อีกอน บิทท์เนอร์ และแอนโธนี แพลทท์ (Bittner and Platt) ให้ความเห็น

                  ที่เป็นไปในทางเดียวกับเวเบอร์ แต่เน้นไปที่ความกลัวที่เป็นแรงผลักดันว่า การที่ประชาชนเชื่อฟัง

                  รัฐและเมื่อกระทำาความผิดก็ยินยอมที่จะรับการลงโทษจากรัฐ  มีเหตุผลเนื่องมาจากผู้ที่ได้กระทำา
                  ความผิดนั้นมีทางเลือกอยู่แค่ ๒ ทาง คือ
                            • การยอมรับโทษเพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมของตนเองไว้ในฐานะที่เป็นสมาชิก

                               คนหนึ่งของรัฐ

                            • หรือไม่ก็ต้องเลือกที่จะออกไปจากสังคม ออกไปจากขอบเขตการปกป้องตามระเบียบ
                               แบบแผนทางศีลธรรม (Moral Order) ที่รัฐทำาหน้าที่กำากับดูแลอยู่ ซึ่งแน่นอนว่า
                               ผู้กระทำาผิดไม่ได้สมัครใจที่จะรับการลงโทษจากรัฐ แต่จำาเป็นต้องยอมเพราะอำานาจ

                               ของรัฐได้ให้ทางเลือกที่จำากัดแก่ผู้กระทำาผิดนั่นเอง

                           รวมทั้งจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ได้กล่าวถึงการใช้อำานาจและความรุนแรง
                  ของรัฐว่า การที่รัฐเข้าไปจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลในสังคม ด้วยวิธีการบีบบังคับ
                  และควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการใช้กำาลังทางกายในรูปแบบของการลงโทษตามกฎหมาย หรือใช้การขู่เข็ญ

                  หรือบีบบังคับทางศีลธรรมในลักษณะของมติมหาชน  ก็เพื่อเป็นเครื่องยืนยันหรือเป็นหลักประกัน

                  ให้กับประชาชนในสังคมว่า  จะได้รับการปกป้องจากการถูกทำาร้าย  หรือถูกทำาให้เป็นอันตรายจาก
                  ประชาชนอีกคนหนึ่ง



                           ถึงแม้ว่าประชาชนจะยินยอมมอบสิทธิของตนให้กับรัฐ  เพื่อความมั่นคงและปลอดภัย

                  ของตนเองและสังคมตามหลักสัญญาประชาคม  แต่ประชาชนก็ไม่ได้เสียสิทธิตลอดจนเสรีภาพ
                  ส่วนบุคคลทั้งหมดให้กับรัฐ  ประชาชนทำาแต่เพียงมอบสิทธิเสรีภาพบางส่วนเท่าที่จำาเป็นในการ
                  รวมตัวกันทางสังคมเพื่อก่อตั้งรัฐ  การบัญญัติกฎหมายขึ้นจึงเป็นเงื่อนไขที่สำาคัญในการอยู่ร่วมกัน

                  ในสังคมอย่างสงบสุขและป้องกันไม่ให้สังคมเกิดความวุ่นวายเนื่องจากประชาชนทำาร้ายกันเอง

                  หากไม่มีกฎหมายในการควบคุม  ดังนั้น  การลงโทษผู้ที่กระทำาความผิดตามกฎหมายจึงควรจะต้อง








      122      คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140